พรรคประชาภิวัฒน์

 

  นโยบายเพื่อพระพุทธศาสนาเบื้องต้น   

 

            1. จัดให้มีวิชาเสริมหลักสูตรพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับวัยในการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล  ประถม มัธยม  

           2. จัดท าพระราชบัญญัติสนับสนุนพระภิกษุ สามเณร พุทธบริษัท ไปนมัสการสังเวชนียสถาน        4 ต าบล  

           3. ขับเคลื่อนนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก  

           4. รักษาคุณสมบัติชาวพุทธของสังคมไทยคือ ยิ้มง่าย ให้อภัยคนง่าย ช่วยเหลือคนง่าย มีเมตตา    รักปรารถนาดีต่อผู้อื่น ยืดหยุ่นไม่แตกหัก กตัญญู มีกริยามารยาท เคารพต่อผู้อื่น  

           5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ให้ช่วยเหลือสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ        และทันสมัยโดยจัดให้มีส านักงานพระสังฆาธิการทุกระดับ  

                  1) เจ้าคณะหน  ปริญญาตรี 1, ธุรการ 1                                     2) เจ้าคณะภาค  ปริญญาตรี 1, ธุรการ 1  

                  3) เจ้าคณะจังหวัด  ปริญญาตรี 2, ธุรการ 3                               4) เจ้าคณะอ าเภอ  ปริญญาตรี 1, ธุรการ 2  

                  5) เจ้าคณะต าบล  ธุรการ 2                                                6) ไวยาวัจกร  จ้างคนที่ท าบัญชีเป็น 1 คน  

           โดยให้มีบุคลากรปฏิบัติงานประจ าตัวพระสังฆาธิการ และเครื่องมือเครื่องใช้ในสานักงานที่จาเป็น ในการบริหารและประสานงาน โดยมีโปรแกรมการบริหารองค์กรมาช่วยปฏิบัติงาน  

           6. จัดให้มีอาสาสมัครพระวินยาธิการเพื่อช่วยพระเจ้าคณะปกครองสงฆ์ตรวจสอบพระที่ไม่ถูกต้อง         

ซึ่งอาสาสมัครดังกล่าวจะได้รับการอบรมให้มีความรู้เรื่องพระวินัยสงฆ์ จากมหาวิทยาลัยสงฆ์และสาขา 

ทั่วประเทศ เสมือนกรณีข้าราชการทหารทุกระดับชั้น เมื่อต้องคดีต้องสอบสวนต่อหน้านายทหารพระ 

ธรรมนูญเท่านั้น ไม่ใช่ใคร ๆ ต่างศาสนาก็ตรวจสอบร้องเรียนได้ (ตามที่ปรากฏในสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน)  

           7. สนับสนุนให้จัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา เพื่อช่วยบริหารการเงินของกิจการคณะสงฆ์และ 

พุทธศาสนิกชนชาวพุทธที่มีวัตรปฏิบัติ สมบูรณ์ทั้งกาย วาจา ใจ โดยให้มี Social Credit  วัดค่าคุณธรรม 

ความดีงามแต่ละคน เป็นข้อมูลชี้วัดเครดิตในการท าธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารพระพุทธศาสนา  

           8. จัดตั้งกองทุนปกป้องพระภิกษุสงฆ์ที่ต้องคดี (ให้ธนาคารพระพุทธศาสนาเป็นผู้บริหารกองทุน)  

โดยให้ส านักพุทธท าข้อตกลงกับ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ เมื่อพระสงฆ์ถูกแจ้งความต่อเจ้าพนักงานอบสวน

จะต้องท าการสอบสวนต่อหน้านักกฎหมายที่ได้ท าข้อตกลงกับกองทุนปกป้องพระสงฆ์ เช่น  

สมาคมทนายความ สภาทนายความหรือทนายอาสา ซึ่งมีรายชื่อประจ าทุกจังหวัดทั่วประเทศ  

           9. จัดให้มีกองทุนสนับสนุนพระภิกษุที่เรียนในระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยที่เรียนดี           

 แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยใช้ธนาคารพุทธศาสนาเป็นหน่วยด าเนินการ  

           10. สนับสนุนให้มีศูนย์จ าหน่ายหนังสือและห้องสมุดในวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ และสถานที่ปฏิบัติ 

ธรรมให้ทั่วถึง ในบ้านมีห้องพระ ในหมู่บ้านมีลานธรรม สาธารณะ ในโรงเรียน, บริษัท มีห้องสงบใจ        

ฝึ กจิตใจ การปฏิบัติโครงการดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้บริการทางการเงินกับธนาคารพระพุทธศาสนาได้  

           11. การขอจัดตั้งวัดต้องง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่จ าเป็นต้องมีโฉนด กรณีจัดตั้งในสถานที่ราชการ 

อาจเป็นหนังสือยินยอมจากหน่วยงานต้นสังกัดที่ดูแลที่ดินนั้น ๆ ก็เพียงพอ เช่น กระทรวงมหาดไทย       

ส.ป.ก. กรมป่าไม้ กรมอุทยาน กรมประชาสงเคราะห์ กรมธนารักษ์ ฯลฯ หากยุติด าเนินการก็คืนให้ต้น 

สังกัดต่อไป  

           12. การพิจารณาขอวิสุงคามสีมา ต้องพิจารณาโดยรวดเร็วสะดวกเหมือนศาสนาอื่น  เช่น         

การตั้งมัสยิด  แค่นายอ าเภอก็อนุมัติได้สะดวก  

           13. จัดให้มีหลักสูตรการอบรมพระหรือสามเณรที่เข้ามาบวช 7 วัน 15 วัน หรือ 1 เดือน              

 1 พรรษา ต้องให้สอดคล้องกับเวลาเนื้อหาโครงการในการพัฒนาตน   

           14. ยกเลิกการตรวจสอบผู้ขอบวชต้องตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับส านักงานต ารวจ   

 แห่งชาติซึ่งล่าช้ามากเกินภารกิจของผู้ประสงค์จะขอบวช ไม่เหมาะสมกับผู้ขอบวชระยะสั้น  

           15. การจัดการทรัพย์สินวัด ทั้งศาสนสมบัติกลางและศาสนสมบัติของวัด การบริหารจัดการต้อง   

มีระเบียบปฏิบัติที่เป็นระบบแบบส านักงานทรัพย์สินฯ ทรัพย์สินรถไฟ ราชพัสดุ น ามาปรับปรุงให้ 

สอดคล้องกับพระวินัย ( ไม่สมควรให้ เจ้าหน้าที่ ทั้งส านักพุทธและกรรมการวัดพิจารณาข้อเท็จจริง     

และเสนอให้พระผู้บริหารวินิจฉัยอนุมัติซึ่งไม่ใช่วิสัยของสงฆ์ ซึ่งท าให้ผู้เช่าหรือผู้เกี่ยวข้องกับ             

การใช้ประโยชน์พื้นที่วัดไม่พอใจหรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อพระสงฆ์ อาจเป็นเหตุก่อให้เกิดการบั่นทอน 

ศรัทธาต่อพระสงฆ์ได้ ส าหรับประโยชน์ที่เกิดจากการบริหารทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น ให้เป็นสมบัติของ 

วัด วัดสามารถบริหารจัดการให้เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาต่อไป)  

 

นโยบายที่รอรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน

นโยบายด้านกลุ่มเปราะบาง

 ได้แก่ (1) มิติด้านรายได้ (2) มิติด้านที่อยู่อาศัย (3) มิติด้านสุขภาพ (4) มิติด้านการศึกษา และ (5) มิติด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ

ในเบื้องต้นจากการคัดกรองข้อมูลในระดับต่าง ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านรายได้เป็นส่วนมาก เนื่องจากสมาชิกในครัวเรือนไม่สามารถหารายได้มาจุนเจือครอบครัว ตกงาน รายได้ต่อปีไม่ถึง 38,000บาท/ปี จึงมีความต้องการที่จะได้รับการสงเคราะห์เป็นสิ่งของสำหรับบุคคลที่ไม่สามารถพัฒนาได้ หรือ การฝึกอาชีพให้แก่บุคคลที่สามารถพัฒนาได้ ทั้งนี้ สามารถสรุปแบ่งประเด็นความต้องการของกลุ่มเปราะบาง ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางระยะเร่งด่วน

กลุ่มเปราะบางมีความต้องการการช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วนเพื่อใช้ในการดรงชีวิตเบื้องต้นอาทิ                  เครื่องอุปโภคบริโภค  เงินสงเคราะห์ช่วยเหลือต่าง ๆ (เงินอุดหนุน) และการเข้าถึงสิทธิ  การเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐอย่างรวดเร็ว

การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางระยะกลาง

กลุ่มเปราะบางมีความต้องการในด้านของสภาพที่อยู่อาศัยที่ไม่เหมาะสม และการมีงานทำ หรือรายได้เสริม อาทิ การให้ความรู้ การฝึกอบรมทักษะอาชีพ การเข้าถึงโอกาส การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มของชุมชน การเข้าถึงระบบ  IT                           และการปรับสภาพแวดล้อมการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย  เป็นต้น

การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางระยะยาว

กลุ่มเปราะบางมีความต้องการในด้านของที่อยู่อาศัยและการมีงานทแบบยั่งยืนพร้อมทั้งการส่งเสริมด้านการศึกษา อาชีพการมีงานทำอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสวัสดิการด้านสุขภาพต่าง ๆ การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ได้แก่การปรับปรุง/ซ่อมแชมที่อยู่อาศัย                 การมีที่ดินทำกิน การเป็นชุมชนสีเขียว (ปลอดภัย ไม่มีการขโมย) การมีพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น

การบูรณาการ การให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ครอบคลุมในทุกมิติแบบองค์รวม ได้แก่ ด้านรายได้ ด้านความเป็นอยู่ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา และการเข้าถึงบริการภาค รัฐ เพื่อให้กลุ่มเปราะบางสามารถได้รับการช่วยเหลือ สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางและครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยการลงเยี่ยมบ้านเพื่อสอบข้อเท็จจริง โดยมีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบแต่ละอำเภอ. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน และดำเนินงานร่วมกันเพื่อสำรวจ รับฟัง สอบถาม ข้อเท็จจริง

จัดเก็บข้อมูลครัวเรือนเปราะบางที่ตกหล่น พร้อมทั้ง นำข้อมูล สภาพปัญหา และการคัดกรองกลุ่มเปราะบาง                 มาวิเคราะห์ และให้ความช่วยเหลือ ตามลำดับความเร่งด่วนของกลุ่มเปราะบางที่ต้องช่วยเหลือ แบ่งเป็น 3 ระยะ เพื่อให้ความช่วยเหลือให้เหมาะสมกับสภาพปัญหารายครัวเรือนในมิติต่าง ๆ การดำเนินการขับเคลื่อนการแก้ปัญหากลุ่มเปราะบาง ส่งผลต่อการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางปรับตัวให้สามารถพึ่งตนเองได้ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน       

        นโยบายในการให้ความช่วยเหลือคนพิการ

1.ด้านอาชีพคนพิการ เสนอให้มีการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการเพิ่ม การส่งเสริมแสดงความสามารถคนพิการ ศูนย์ฝึกอาชีพ           คนพิการ การจัดอบรมฝึกอาชีพ เพิ่มหลักสูตรทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดหาตลาดส่งเสริมอาชีพและผลิตภัณฑ์คนพิการ การอบรมอาชีพคนพิการแนวใหม่ นำไอทีมาช่วยส่งเสริมให้สามารถทำงานที่บ้านได้ โดย AI เข้ามามีบทบาทการทำงานมากขึ้นให้เหมาะกับแต่ละความพิการ รวมถึงอาชีพจำหน่ายสลากคนพิการที่มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์และรูปแบบสลากกินแบ่งตลอดเวลา จึงควรมีการจัดสรรให้คนพิการเข้าถึงได้ในทุกช่องทาง เนื่องจากเป็นอาชีพหลักที่คนพิการสามารถทำได้โดยไม่เป็นภาระของสังคม

2.ด้านสิ่งอำนวยสะดวก อาคาร สถานที่  เสนอให้มีการพัฒนาเป็นเมืองการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าถึงได้                          อย่างเท่าเทียม  การตั้งคณะทำงานสิ่งอำนวยความสะดวก เร่งปรับปรุงแบบมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นแบบเดียวกัน และออกประกาศข้อบังคับนำไปใช้เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม มีระบบรับเรื่องร้องเรียนเพื่อคนพิการในทุกหน่วยงาน

3.ด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม เสนอให้สร้างแอปพลิเคชันและพัฒนาเว็บไซด์ที่เข้าถึงได้ทุกประเภทความพิการ เพื่ออำนวย                  ความสะดวกการดำรงชีวิตคนพิการในสถานการณ์ปัจจุบัน

4.ด้านการสวัสดิการสังคม ปัญหาการตกหล่นจากระบบ  เสนอให้ การขึ้นทะเบียนคนพิการต้องครบถ้วนครอบคลุม                             ทุกความพิการ 9 ความพิการ และครบทุกพื้นที่ จัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติสำหรับคนพิการ

5.ด้านการแพทย์ เตรียมขับเคลื่อนกองทุนสุขภาพคนพิการ การสร้างช่องทางพิเศษเข้าถึงบริการการแพทย์คนพิการ

6.ด้านการศึกษา ปัญหาการเข้าถึงสิทธิด้านการศึกษาและคุณภาพการศึกษา เสนอให้จัดตั้งโรงเรียนคนพิการเฉพาะ                     ความพิการในทุกจังหวัด และมีครูเฉพาะทางครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงส่งเสริมโรงเรียนเรียนรวมนักเรียนทั่วไปกับเด็กพิการ universal design for learning / inclusive school

 - ถ้าท่านเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาขอให้ท่านส่งต่อบุคคลที่ท่านรักด้วย 

 -  สามารถเข้าร่วมกลุ่ม LINE Official ID: @238mtmgv  

 -  เพิ่มเพื่อนได้โดยไปที่ “เพิ่มเพื่อน” แล้วค้นหา ID หรือสแกนคิวอาร์โค้ดนี้  

 

Visitors: 343,979