สภาพัฒน์ แนวโน้มเศรษฐกิจไทย2567


 


ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

 

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค


เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.7

เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่สามของปี 2566

(%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทย

ในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ลดลงจากไตรมาสที่สามของปี 2566

ร้อยละ 0.6 (%QoQ_SA) รวมทั้งปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว

ร้อยละ 1.9 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2565

 

ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกบริการ

ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น

ส่วนการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อ

การอุปโภคภาครัฐบาลและการลงทุนภาครัฐลดลง

 

ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่ง

ขายปลีกและการซ่อมฯ และสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

ขยายตัวต่อเนื่อง ในขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม

สาขาเกษตรกรรม และสาขาก่อสร้างปรับตัวลดลง 



 

การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2567 ควรให้ความส าคัญกับ

(1) การติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังการทุ่มตลาด รวมทั้งการใช้

มาตรการและวิธีการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากประเทศผู้ส่งออกส าคัญ ควบคู่ไปกับการทบทวนมาตรการทางภาษีให้มีความเหมาะสม

และการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้าน าเข้า

(2) การยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการ

ภายในประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า รวมทั้งใช้ประโยชน์

จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการด าเนินธุรกิจ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

(3) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มี

ศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้น รวมทั้งเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง

ในประเทศให้มีความพร้อมในการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมาย และสามารถเชื่อมโยงสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศกับห่วงโซ่

การผลิตโลกได้มากขึ้น

(4) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2564 - 2566 มีการลงทุนจริง

ควบคู่ไปกับการเร่งรัดอนุมัติโครงการที่ได้เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงก่อนหน้า รวมทั้งการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการโรงงานที่ได้รับ

ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานสามารถเริ่มประกอบกิจการให้เร็วขึ้น และมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่า

เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนาก าลังแรงงาน (5) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ

โดยจัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี และการสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ Long-term resident visa (LTR) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ

และมีก าลังซื้อสูง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพที่ส าคัญ (6) การด าเนินมาตรการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

แก่เกษตรกรผ่านการส่งเสริมรูปแบบและพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลจากความเสี่ยงของสภาพอากาศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง

การเพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจ าหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้ายมากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชและใช้วิธีการผลิตที่เหมาะสม

กับสภาพพื้นที่ และปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าสูง และ (7) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและ

การลงทุนภาครัฐ โดยให้ความส าคัญกับ (i) การเร่งรัดเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปีและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในช่วงที่พระราชบัญญัติ

งบประมาณรายจ่ายประจ าปี 2567 ยังไม่มีผลบังคับใช้ (ii) การเร่งรัดกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ไม่ให้ล่าช้าไปกว่า

แผนที่กำหนดไว้ ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมของโครงการให้มีความพร้อมสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายได้โดยเร็วหลังจาก

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ าปี 2567 มีผลใช้บังคับ และ (iii) การติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ

 

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัว ร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนและการส่งออกบริการขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อ การอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐลดลง ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและ บริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งขายปลีกและการซ่อมฯ และสาขาขนส่งและ สถานที่เก็บสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง ในขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม และสาขาก่อสร้างปรับตัวลดลง เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ลดลงจากไตรมาสที่สามของปี 2566 ร้อยละ 0.6 (%QoQ_SA) รวมทั้งปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2565

 

1) การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.4 ต่อเนื่องจากร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในทุกหมวด สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องของการจ้างงานและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 16 ไตรมาส โดยการใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัว ในเกณฑ์สูงร้อยละ 12.8 ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มบริการทางการเงินร้อยละ 35.4 และร้อยละ 7.9 ตามล าดับ การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 37 ไตรมาส ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส สอดคล้องกับการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ ที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า ส าหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเฉลี่ย อยู่ที่ระดับ 55.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 51.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 16 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค ของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 3.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินส าหรับ สินค้าและบริการในระบบตลาดลดลงร้อยละ 14.1 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 8.0 ส าหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจ าในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 31.0 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 20.5 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ ากว่าร้อยละ 33.4 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมทั้งปี 2566 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.1 เทียบกับร้อยละ 6.2 ในปี 2565 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อ การอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 4.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.1 ในปี 2565

 

2) การลงทุนรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการลงทุนภาครัฐ ที่ลดลงติดต่อกัน เป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 20.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการลดลงของการลงทุนรัฐบาลร้อยละ 33.5 เนื่องจากความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจ าปีงบประมาณ 2567 ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 7.0 ส าหรับอัตราการเบิกจ่าย งบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 7.2 (ต่ ากว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 20.9 และร้อยละ 20.1 ในไตรมาสก่อนหน้าและในไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ตามล าดับ) ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 5.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุด ในรอบ 5 ไตรมาส โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 5.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุน ในหมวดก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2566 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.2 เทียบกับร้อยละ 2.3 ในปี 2565 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2565 ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.9 ในปี 2565

 

3) การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 68,822 ล้านดอลลาร์ สรอ. กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 4.6 โดยปริมาณส่งออกกลับมาขยายตัว ร้อยละ 3.2 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าว (ร้อยละ 43.8) ยางพารา (ร้อยละ 6.5) คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 185.3) ตู้เย็น (ร้อยละ 23.3) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 16.3) ผลิตภัณฑ์โลหะ (ร้อยละ 14.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ยานยนต์ (ร้อยละ 10.7) และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 52.2) กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง อาทิ ทุเรียน (ลดลงร้อยละ 51.7) ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 18.9) กุ้ง, ปู, กั้ง, และล็อบสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 7.4) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 4.9) เครื่องปรับอากาศ (ลดลง ร้อยละ 28.8) และรถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 7.3) รวมทั้งปี 2566 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 280,209 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.4 ในปีก่อนหน้า โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 2.9 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 

 

4) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงลดลงร้อยละ 0.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากสภาพอากาศ ที่ไม่เอื้ออ านวยส่งผลให้ผลผลิตหมวดพืชผลส าคัญลดลง โดยเฉพาะปาล์มน้ ามัน กลุ่มผลไม้ มันส าปะหลัง อ้อย และข้าวเปลือก รวมทั้งหมวดประมง ที่ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ในขณะที่ผลผลิตหมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ผลผลิตสินค้าเกษตรส าคัญที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ ามัน (ลดลงร้อยละ 18.3) กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 10.0) โดยเฉพาะทุเรียน (ลดลงร้อยละ 37.2) มันส าปะหลัง (ลดลงร้อยละ 14.0) อ้อย (ลดลงร้อยละ 11.1) และข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 3.7) ตามล าดับ ในขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สุกร (ร้อยละ 20.5) โคเนื้อ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5) ตามล าดับ ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ร้อยละ 0.1 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าส าคัญ อาทิ ข้าวเปลือก (ร้อยละ 16.0) ยางพารา (ร้อยละ 11.4) มันส าปะหลัง (ร้อยละ 12.5) อ้อย(ร้อยละ 11.4) และ ปาล์มน้ ามัน (ร้อยละ 5.6) อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรส าคัญบางรายการปรับตัวลดลง ได้แก่ สุกร (ลดลงร้อยละ 37.3) กลุ่มผลไม้ (ลดลงร้อยละ 6.2) และไก่เนื้อ (ลดลงร้อยละ 10.5) การลดลงของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมลดลงต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 2.5 รวมทั้งปี 2566 สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2565

 

5) สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 2.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของ กลุ่มการผลิตที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 -60 และกลุ่มการผลิตเพื่อการส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) เป็นส าคัญ สอดคล้องกับ การลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 5.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วน การส่งออกในช่วงร้อยละ 30 -60ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 11.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 6.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60)ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 ร้อยละ 9.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 12.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) กลับมา ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 1.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมส าคัญ ๆ ที่ลดลง อาทิ การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 13.9) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ลดลงร้อยละ 15.7) การคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลง ร้อยละ 18.7) การผลิตน้ าตาล (ลดลงร้อยละ 20.1) และการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ยกเว้นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า) (ลดลงร้อยละ 21.6) ส่วนการผลิตสินค้าส าคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น อาทิ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 18.7) การปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน (ร้อยละ 30.3) การผลิตสายไฟและเคเบิลฯ (ร้อยละ 36.9) และการผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้ฯ (ร้อยละ 15.0) ส าหรับอัตราการใช้ก าลังการผลิต เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 56.72 ต่ ากว่าร้อยละ 58.02 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ ากว่าร้อยละ 60.32 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งปี 2566 สาขาการผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงร้อยละ 3.2 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในปี 2565 และอัตราการใช้ก าลังการผลิต เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 59.06 ต่ ากว่าร้อยละ 62.76 ในปี 2565 

 

6) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวร้อยละ 10.0 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 15.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัว ในเกณฑ์สูงของจ านวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการขยายตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวในประเทศ (ไทยเที่ยวไทย) โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีจ านวน 8.095 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.1 ส่งผลให้มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้อยู่ที่ 2.77 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 34.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 76.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยว ชาวไทย (ไทยเที่ยวไทย) จ านวน 66.70 ล้านคน-ครั้ง ขยายตัวร้อยละ 14.3 สร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 2.35 แสนล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 26.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 29.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีรายรับรวมจากการท่องเที่ยว 5.12 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8ส าหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 73.55 สูงกว่าร้อยละ 66.16 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 62.64 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งปี 2566 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 18.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 34.5 ในปี 2565 โดยจ านวน นักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจ านวน 28.150 ล้านคน ส่งผลให้รายรับรวมจากการท่องเที่ยวมีมูลค่า 1.892 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.0 ส าหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 69.22 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 4 ปี 

 

7) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 11 ร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและภาคบริการด้านการท่องเที่ยว โดยดัชนีการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์ และจักรยานยนต์) ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 17.9 ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดร้านขายปลีกสินค้าประเภทอื่น ๆ ในขณะที่ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้น ยานยนต์และจักรยานยนต์) ลดลงร้อยละ 3.9 ตามการลดลงของหมวดการขายส่งสินค้าเฉพาะประเภทอื่น ๆ อาทิ การขายส่งเหล็ก เหล็กกล้า และ โลหะที่นอกกลุ่มเหล็กขั้นมูลฐาน และการขายส่งเคมีภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม และดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 12.2 ตามการลดลงในทุกหมวด อาทิ หมวดการขายยานยนต์ และหมวดการขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของยานยนต์ รวมทั้งปี 2566 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในปี 2565 

 

8) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยบริการขนส่งขยายตัวร้อยละ 6.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของบริการขนส่งทางน้ า (ร้อยละ 2.5) บริการขนส่งทางอากาศ (ร้อยละ 14.3) และบริการขนส่งทางบกและท่อล าเลียง (ร้อยละ 2.9) ส าหรับบริการสนับสนุนการขนส่งขยายตัวร้อยละ 12.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.4 และ บริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 11.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.6 ตามล าดับ รวมทั้งปี 2566 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวร้อยละ 8.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 8.0 ในปี 2565 

 

9) สาขาการก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 8.8 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการก่อสร้างภาครัฐ โดยเฉพาะ การก่อสร้างของรัฐบาล ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 โดยในไตรมาสนี้ การก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 18.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า (การก่อสร้างของรัฐบาลลดลงร้อยละ 30.9 ตามการลดลงของการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน ส่วนการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ร้อยละ 9.8 ) ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เทียบกับ การเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวต่อเนื่องของการก่อสร้างอาคารที่มิใช่ที่อยู่อาศัย (อาทิ อาคารพาณิชย์ และอาคาร โรงงาน) ส าหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 0.2 ตามการลดลงของราคาหมวดเหล็ก (ลดลงร้อยละ 2.9) และราคา หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ อาทิ ยางมะตอย และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม (ลดลงร้อยละ 2.1) ขณะที่ราคาหมวดคอนกรีตและหมวดซีเมนต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.1 และร้อยละ 0.7 ตามล าดับ รวมทั้งปี 2566 สาขาการก่อสร้างปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.4 ในปี 2565 โดยการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 3.3 (การก่อสร้างของรัฐบาลลดลงร้อยละ 6.2 ส่วนการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4) และการก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 เศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.2 - 3.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 

(1) การกลับมาขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้า ตามการฟื้นตัวของการค้าโลก 

(2) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และ 

(3) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของ ภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.0 และร้อยละ 3.5 ตามล าดับ มูลค่าการส่งออกในรูป ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 2.9 ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.9 - 1.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.4 ของ GDP  

 

 

 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน: ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.4 ต่อเนื่องจากร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในทุกหมวด สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องของการจ้างงานและความเชื่อมั่น ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 16 ไตรมาส โดยการใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 12.8 ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มบริการทางการเงินร้อยละ 35.4 และ ร้อยละ 7.9 ตามล าดับ การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.3 ในไตรมาส ก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 37 ไตรมาส ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับการลดลง ร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส สอดคล้องกับการใช้จ่ายเพื่อซื้อ ยานพาหนะที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทน ขยายตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและ รองเท้า ส าหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 55.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 51.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 16 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 รวมทั้งปี 2566 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 6.2 ในปี 2565 การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 5.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นอัตรา การขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส ตามการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 เร่งขึ้น จากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเร่งขึ้นของการน าเข้าสินค้าทุนร้อยละ 8.7 เทียบกับ ร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนในหมวดการก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 3.4 เทียบกับ ร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวต่อเนื่องของการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย ส าหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 49.0 ลดลงจากระดับ 49.5 ในไตรมาส ก่อนหน้า ต่ ากว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ตามความเชื่อมั่นในภาคการผลิตที่ปรับลดลงจากระดับ 52.0 ในไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 51.6 ในไตรมาสนี้ สอดคล้องกับการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศและ ต่างประเทศ รวมทั้งปี 2566 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 ชะลอลงจากร้อยละ 4.7 ในปี 2565 โดยการลงทุน ในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 3.3 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.2 ในปี 2565 ขณะที่ หมวดก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.5 ในปี 2565

 สถานการณ์ยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ของไทย เมื่อพิจารณาจากข้อมูลยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ของไทยในปี 2566 ของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่รวมในปี 2566 อยู่ที่ 657,860 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จาก 628,722 คัน ในปี 2565 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากยอดจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle: BEV) เป็นส าคัญ โดยยอดจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2566 อยู่ที่ 76,538 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 695.9 เมื่อเทียบกับ 9,617 คัน ในปี 2565 ขณะที่ยอดจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ที่ใช้น้ ามันอยู่ที่ 481,609 คัน ลดลงร้อยละ 11.3 จาก 543,072 คัน ในปี 2565 ส่งผล ให้สัดส่วนยอดจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้าต่อยอดจดทะเบียนรถยนต์ทั้งหมด อยู่ที่ร้อยละ 11.6 ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี2565 และหากพิจารณายี่ห้อรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนใหม่ในปี 2566 เรียงตามล าดับ ได้แก่ BYD (สัญชาติจีน) 30,467 คัน Neta (สัญชาติจีน) 12,777 คัน MG (สัญชาติจีน) 12,462 คัน Tesla (สัญชาติสหรัฐฯ) 8,206 คัน และ GWM (ORA) (สัญชาติจีน) 6,746 คัน โดยการที่ ยอดจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะส าคัญ เป็นผลจากความส าเร็จของมาตรการกระตุ้นอุปสงค์การใช้รถยนต์ไฟฟ้า ในประเทศของรัฐบาลภายใต้มาตรการ EV3.0 และ EV3.5 อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของ การลงทุนก่อสร้างโรงงานและไลน์การผลิตในประเทศ ดังนั้น รถยนต์ไฟฟ้าที่จ าหน่ายในประเทศไทยยังคงเป็นรถยนต์น าเข้าแทบทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี มาตรการส่งเสริมการลงทุนส าหรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่หรือยานยนต์ไฟฟ้าของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ก าหนดสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อชดเชยการน าเข้า อาทิ อัตราส่วน 1:1 ในปี 2567 (น าเข้ารถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน ต่อการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ในประเทศ 1 คัน) และอัตราส่วน 1:1.5 ในปี 2568 (น าเข้ารถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน ต่อการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ 1.5 คัน) ซึ่งหากก าลังการผลิต ของโรงงานรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติต่าง ๆ สามารถผลิตได้ตามเงื่อนไขของมาตรการ จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนไฟฟ้าที่ส าคัญของโลกได้

การส่งออก: มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส สอดคล้องกับ มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัว การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 มีมูลค่า 68,822 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณ การส่งออก กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.2 ตามการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ราคาสินค้า ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า จากการเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงของราคาส่งออก สินค้าเกษตรร้อยละ 8.9 เมื่อหักการส่งออกทองค าที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.5 ส่วนการส่งออกในรูปของเงินบาท มีมูลค่า 2,454 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2566 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 280,209 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.7 เทียบกับการขยายตัว ร้อยละ 5.4 ในปีก่อนหน้า โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 2.9 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ด้านการส่งออกในรูปเงินบาทมีมูลค่า 9,758 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 15.3 ในปี 2565 

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.3 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกร้อยละ 8.9 ขณะที่ปริมาณ ส่งออกลดลงร้อยละ 3.3 โดยการส่งออกข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.8 ตามการส่งออกไปยังตลาดอินโดนีเซีย สหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ เป็นส าคัญ และการส่งออกยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ตามการส่งออกไปยังตลาดจีนและสหรัฐฯ เป็นส าคัญ ขณะที่การส่งออกทุเรียน ลดลงร้อยละ 51.7 ตามการส่งออกไปยังตลาดจีนเป็นส าคัญ มูลค่าการส่งออก สินค้าอุตสาหกรรม กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 4.7 ตามการกลับมาขยายตัวของปริมาณ การส่งออกร้อยละ 3.9 และการเพิ่มขึ้นราคาส่งออกร้อยละ 0.8 มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมส าคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 185.3) ตู้เย็น (ร้อยละ 23.3) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 16.3) ผลิตภัณฑ์โลหะ (ร้อยละ 14.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 10.7) และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 52.2) ขณะที่มูลค่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมส าคัญที่ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 18.9) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 4.9) เครื่องปรับอากาศ (ลดลงร้อยละ 28.8) และรถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 7.3) มูลค่าการส่งออกสินค้าประมงลดลงร้อยละ 3.3 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 สอดคล้องกับการลดลงของปริมาณส่งออก ร้อยละ 4.2 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ กุ้ง, ปู, กั้ง, และล็อบสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 7.4) และมูลค่าการส่งออกสินค้าส่งออกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 95.0 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่า การส่งออกทองค าที่ยังไม่ขึ้นรูปร้อยละ 98.0 เป็นส าคัญ

ตลาดส่งออก: การส่งออกไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่ขยายตัว โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ จีน อาเซียน (9) ออสเตรเลีย ฮ่องกง และอินเดีย ในขณะที่การส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหภาพยุโรป (27) สหราชอาณาจักร และตะวันออกกลาง (15) ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 10.2 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โทรศัพท์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นส าคัญ ตลาดจีน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.4 ตามการเพิ่มขึ้นของ การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ยางพารา และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นส าคัญ ตลาดอาเซียน (5) กลับมาขยายตัวในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 15.6 (ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังสิงคโปร์ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นส าคัญ) ตลาดออสเตรเลีย ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 18.4 ตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นส าคัญ ตลาดฮ่องกง ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 25.8 จากการขยายตัวของการส่งออก คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นส าคัญ ตลาดอินเดีย ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 1.3 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกเคมีภัณฑ์ อัญมณีและ เครื่องประดับ และเหล็กและผลิตภัณฑ์ เป็นส าคัญ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นกลับมาลดลง ร้อยละ 0.03 ตามการลดลงของการส่งออกเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ในขณะที่การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบยังขยายตัวดี กลุ่มประเทศ CLMV ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 8.9 (ตามการลดลงของการส่งออกไปยังกัมพูชา และเวียดนาม เป็นส าคัญ) ตลาดสหภาพยุโรป (27) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 4.0 ตามการลดลง ของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นส าคัญ และตลาดสหราชอาณาจักร ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 16.8 ตามการลดลงของการส่งออก ไก่แปรรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นส าคัญ 


 

Visitors: 344,102