พ่อลี ธมมธโร

ประวัติท่านพ่อลี ธมฺมธโร

ท่านพ่อลีธัมมธโรเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่๓๑มกราคมพ.ศ. ๒๔๔๙เวลา๒๑.๐๐น. ตรงกับวันแรม๒ค่ำเดือนยี่ปีมะเมียณบ้านหนองสองห้องตำบลยางโยภาพอำเภอม่วงสามสิบจังหวัดอุบลราชธานีนามเดิมของท่านคือ “ชาลี” ท่านเป็นบุตรนายปาวนางพ่วยนารีวงศ์อาชีพทำนามีพี่น้อง๙คนเป็นชาย๕หญิง๔มารดาท่านถึงแก่กรรมเมื่อท่านอายุเพียง๑๑ปีท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนเมื่ออายุได้๑๒ปีผลการเรียนไม่ค่อยดีนักเพราะท่านต้องช่วยบิดาทำนาพออายุ๑๗ปีท่านจำต้องออกจากโรงเรียน

ท่านพ่อลีมีอุปนิสัยชอบทำบุญมาตั้งแต่เป็นเด็กพอถึงวันพระ

ท่านก็อยากไปทำบุญที่วัดแต่บิดาท่านไม่ใคร่สนใจเรื่องทำบุญสุนทานทำให้ท่านขัดใจกับโยมพ่อบ่อยๆเพราะโยมพ่อต้องการให้ท่านทำการค้าที่ท่านไม่ชอบเช่นซื้อหมูมาขายซื้อวัวมาขายบางวันท่านนั่งร้องไห้คนเดียวกลางทุ่งนา

ต่อมาโยมพ่อได้ภรรยาใหม่ชื่อ “ทิพย์” จึงไม่ใคร่ดุว่าท่านเหมือน

เมื่อก่อนทำให้ท่านมีโอกาสไปทำบุญที่วัดสมความตั้งใจสบายใจขึ้นมาก.

พอดีอายุครบ๒๐ปีตรงกับพ.ศ. ๒๔๖๘แม่ทิพย์ได้ถึงแก่กรรมหลังจัดงานศพแล้วท่านพ่อปรารภเรื่องบวชพี่น้องทุกคนเห็นด้วยโดยเฉพาะโยมพ่อทำให้ท่านได้บวชสมความปรารถนาณ บ้านเกิดมีเพื่อนๆอีก๘คนได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุพร้อมกันในวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๖

ในพรรษาแรกท่านพ่อลีได้ศึกษาและตรวจค้นดูธรรมวินัยแล้ว

รู้สึกยุ่งยากลำบากใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากวัดที่ท่านบวชพระภิกษุและสามเณรไม่เคร่งครัดในธรรมวินัยหย่อนในวัตรและศีลพลอยให้ท่านหย่อนธรรมวินัยไปด้วยจึงเกิดความเบื่อหน่าย คิดว่า ‘เราต้องสึกถ้าไม่สึกเราต้องหนี’

เพราะเหตุนั้นในพรรษาที่๒ท่านพ่อลีจึงตั้งใจอธิษฐานว่า

“เวลานี้ข้าพเจ้ายังมุ่งดีหวังดีต่อพระศาสนาอยู่ในกาลเบื้องหน้าต่อไปนี้ขอให้ข้าพเจ้าได้พบครูบาอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบภายใน๓เดือน”

ต่อมาเดือนพฤศจิกายนข้างแรมได้ไปเทศน์มหาชาติที่วัดบ้าน

โนนรังใหญ่ตำบลยางโยภาพอำเภอม่วงสามสิบจังหวัดอุบลราชธานีพอดีได้พบพระกรรมฐานองค์หนึ่งกำลังเทศน์อยู่บนธรรมาสน์รู้สึกเกิดแปลกประหลาดในจิตขึ้นโวหารของธรรมะน่าเลื่อมใสจึงได้สอบถามและทราบภายหลังว่าชื่อพระอาจารย์บทเป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นภูริทัตโตได้ทราบว่าขณะนั้นพระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่วัดบูรพารามจังหวัดอุบลราชธานี

เดือนอ้ายข้างแรมท่านพ่อลีได้ออกเดินทางโดยลำพังองค์เดียว

มุ่งหน้าสู่จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อไปนมัสการกราบเรียนความประสงค์ของตนต่อพระอาจารย์มั่นท่านก็ได้ช่วยแนะนำสงเคราะห์จนเป็นที่พอใจ

พระอาจารย์มั่นได้สอนคำภาวนาให้ว่า“พุทโธ ๆ”เพียงคำเดียว

เท่านั้นขณะนั้นพระอาจารย์มั่นกำลังอาพาธท่านจึงแนะนำให้ไปพักอยู่บ้านท่าวังหินที่นั่นมี

พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

พระมหาปิ่นปญฺญาพโล

มีพระภิกษุสามเณรอีก๔๐กว่าองค์พักอยู่ได้เข้าไปฟังธรรมเทศนาทุกคืนท่านพ่อได้พบกัลยาณมิตร ๒ ท่าน คือ

พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

พระอาจารย์สาม อกิญฺจโน

เป็นเพื่อนร่วมอยู่ร่วมฉันร่วมศึกษาสนทนา

ท่านพ่อมีคติในใจว่า “เราเกิดมาเป็นคนต้องพยายามไต่ขึ้นอยู่บนหัวคนเราบวชเป็นพระ ต้องพยายามให้อยู่บนหัวพระที่เราเคยพบผ่านมา”

ต่อมาท่านพ่อก็ดำริว่า “เราต้องสวดญัตติใหม่ล้างบาปเก่าเสียที” จึงได้หารือพระอาจารย์มั่นซึ่งท่านก็เห็นดีเห็นชอบด้วย

ท่านพ่อได้รับการอบรมอยู่กับพระอาจารย์มั่นรู้สึกมีความเลื่อมใสท่านเป็นอย่างยิ่งเพราะได้รับความอัศจรรย์จากท่านหลายอย่างอาทิเช่น:

บางเรื่อง... คิดอยู่ในใจของเราไม่เคยแสดงให้ท่านทราบเลยท่านกลับ

ทักทายถูกต้อง ก็ยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสยิ่งขึ้นทุกทีการทำสมาธิก็หนักแน่นหมดความห่วงใยอะไรต่ออะไรหลาย ๆ อย่าง

ได้อยู่ศึกษากับพระอาจารย์มั่นเป็นเวลา ๔ เดือนท่านจึงให้ไป

ทำการบวชญัตติใหม่ที่วัดบูรพาจังหวัดอุบลฯในเดือนพฤษภาคมพ.ศ.๒๔๗๐มี พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) วัดสระปทุมจังหวัดพระนครเป็นอุปัชฌาย์พระอาจารย์มั่นภูริทัตโตเป็นผู้บรรพชาอุปสมบทได้๑วันท่านพ่อลีก็ถือธุดงควัตร๒ ในข้อ “ฉันมื้อเดียว” ตลอดชีวิต

ในพรรษาแรกนี้รู้สึกตัวว่า “ ทำจิต ทำสมาธิได้ดีมากจิตสงบอย่างละเอียดประณีตมีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้นในใจอย่างหนึ่งซึ่งไม่เคยปรากฏมาแต่กาลก่อน ” คือ:เมื่อจิตสงบได้ดีแล้วมีอะไร ๆ ผุดขึ้นต่าง ๆ

ภาษาบาลีซึ่งไม่เคยแปลออก ก็แปลได้ (ทำใจนิ่ง ๆ ได้จะมีอานิสงส์มาก)

เช่นบทสวดมนต์พุทธคุณหรือ๗ ตำนานที่สวดมาก็นึกแปลได้

เป็นส่วนมากพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ย่อที่เคยสวดมาแต่กาลก่อนแปลได้เกือบหมดรู้สึกว่ามีการแตกฉานขึ้นพอสมควรในเรื่องธรรมอยากรู้อะไร

ทำใจนิ่ง ๆ ก็รู้ ไม่ต้องใช้ความนึกคิดเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังนี้จึงได้นำเรื่องไปเล่าถวาย พระอาจารย์กงมาท่านก็ชี้แจงว่า “ พระพุทธเจ้าของเราก็

ไม่ได้เรียนรู้มาก่อน ถึงเรื่องการเรียน หรือ เทศน์พระองค์ท่านได้ปฏิบัติรู้

ในใจก่อนแล้วจึงได้บัญญัติไว้เป็นปริยัติธรรม ฉะนั้น การรู้ของเราเป็นการ

ไม่ผิด ” เมื่อได้ทราบดังนี้ก็มีจิตอิ่มเอิบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง.

ต่อมาท่านพ่อลีมีอาการปวดศีรษะและเจ็บแก้วหูจึงลงมารักษา

ตัวที่กรุงเทพฯโดยพักอยู่วัดสระปทุมปฏิบัติอุปัชฌายวัตรและได้ทำหน้าที่ดูแลพัสดุของสงฆ์ท่านพักที่วัดสระปทุม๓ปีช่วงนี้ชีวิตของท่านค่อนข้างห่างจากการปฏิบัติทางด้านจิตตภาวนาจิตชักจะหันไปในทางโลกเสียบ้างได้คิดต่อสู้จนตลอดพรรษาอยู่มาวันหนึ่งคิดขึ้นในใจว่า “ถ้าเราอยู่ในพระนครนี้เราต้องสึกถ้าไม่สึกเราจะต้องออกจากพระนครไปอยู่ป่า”

ออกพรรษาแล้วล่วงถึงปีพ.ศ.๒๔๗๔ท่านพ่อลีตัดสินใจว่า

“เราต้องออกจากพระนครแน่ๆถ้าพระอุปัชฌาย์ห้ามอีกเห็นจะต้องแตกกันในคราวนี้มิฉะนั้นขออำนาจคุณพระรัตนตรัยช่วยข้าพเจ้าโดยทางอื่น”

วันหนึ่งขณะที่ท่านเคลิ้มหลับท่านนิมิตเห็นพระอาจารย์มั่นมาดุว่า “ท่านมาอยู่ทำไมในกรุงเทพฯไม่ออกไปอยู่ป่า”

ท่านจึงตอบพระอาจารย์มั่นไปว่า “พระอุปัชฌาย์ไม่ยอมให้ไป”

ท่านบอกคำเดียวว่า “ไป”

ตอนนั้นท่านพ่อลีมีอายุ๒๖ปีบวชญัตติใหม่ได้๔พรรษาท่านได้พบพระอาจารย์มั่นในงานฌาปนกิจคุณนายน้อยที่วัดเทพศิรินทราวาส พระอาจารย์มั่นได้ไปขออนุญาตพระอุปัชฌาย์พาท่านขึ้นเหนือ ไปพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่และในพรรษาที่๕นี้เองท่านพ่อลีจึงมีโอกาสปรนนิบัติและศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่นสมความตั้งใจ

พ.ศ.๒๔๗๘ท่านพ่อลีได้ธุดงค์สู่จังหวัดจันทบุรีและได้ปักกลดณป่าช้าคลองกุ้งโดยขุนอำนาจอำนวยกิจและคุณนายกิมลั้งเป็นผู้จัดหาที่พักถวายอีก๒ปีต่อมาในพ.ศ.๒๔๘๐จึงได้จัดตั้งเป็นวัดชื่อ “วัดป่าคลองกุ้ง”

ท่านพ่อลีได้จำพรรษาอยู่ที่เมืองจันทบุรีนานถึง๑๕พรรษาคือ

ระหว่างพ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๔๙๒และท่านยังได้ตั้งสำนักสงฆ์ถึง๑๑แห่ง ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นวัดทั้งหมดแล้ว

พ.ศ.๒๔๙๗นางกิมหงษ์และนายสุเมธไกรกาญจน์ได้ถวาย

ที่ดินท่านพ่อลีประมาณ๕๓ไร่ในปีต่อมาพ.ศ. ๒๔๙๘ท่านได้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มีพระเพียง๖รูปและได้พัฒนาเป็นวัดซึ่งท่านได้ตั้งมงคล นามว่า: “วัดอโศการาม” (ดังปรากฏในปัจจุบัน) ตั้งอยู่เลขที่๑๓๖หมู่๒ ซ.เทศบาลบางปูซอย๖๐ถ.สุขุมวิทต.ท้ายบ้านอ.เมืองจ.สมุทรปราการ๑๐๒๘๐ (ห่างจากตัวเมือง๖กิโลเมตร)

เดือนพฤษภาคมพ.ศ. ๒๕๐๐ท่านพ่อลีได้จัดงานฉลอง “สมโภช

๒๕พุทธศตวรรษ” ที่วัดอโศการามรวม๑๙วัน๑๙คืนหลังงานสมโภชฯ เฉลิมฉลองปีกึ่งพุทธกาลท่านพ่อลีได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ นามว่าพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์เมื่อวันที่๕ธันวาคมพ.ศ. ๒๕๐๐

ท่านพ่อลีสละความสุขส่วนตัวเป็นพลีเพื่อพระพุทธศาสนา

ทำการอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนอยู่ตลอดเวลาการพักผ่อนหาได้ยากขึ้นทุกทีงานปฏิบัติศาสนกิจแม้มีมากขึ้นถึงพักผ่อนน้อยก็เต็มใจมีแต่เมตตาเหตุนั้นจึงเกิดอาพาธเจ็บป่วยเรื่อยมาและได้รับการรักษาพยาบาลดังนี้

๒ - ๕พฤศจิกายน๒๕๐๒เข้าโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

๑๐พฤศจิกายน๒๕๐๒กลับเข้าโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

พ.ศ. ๒๕๐๔ท่านพ่อลีเข้าโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าอีกครั้ง

วันอังคารที่๒๕เมษายนพ.ศ.๒๕๐๔เวลากลางคืนท่านพ่อลี

นั่งสนทนาอยู่กับลูกศิษย์๔รูป ท่านให้จดบันทึกเรื่อง “อริยสัจจ์”จนถึงเวลาประมาณ๒๒.๐๐น. ท่านจึงเข้าไปพักโดยมีอาการปกติทุกอย่างบทความที่ท่านให้บันทึกแก้ไขเพิ่มเติมในหนังสือ“สังฆกิจและมูลกรรมฐาน”เป็นบันทึกธรรมครั้งสุดท้ายของท่านพ่อลีที่เมตตาฝากไว้ให้พวกเรา

รุ่งเช้าวันพุธที่๒๖เมษายนพ.ศ. ๒๕๐๔คณะศิษย์ได้รอถวายจังหันท่านพ่อลีตามปกติรออยู่จนสายจึงได้ไปที่กุฏิเห็นว่าเงียบผิดปกติ จึงเปิดหน้าต่างแล้วเข้าไปดูพบร่างท่านพ่อนอนแน่นิ่งอยู่ในท่าสีหไสยาสน์ ปรากฏว่าท่านได้มรณภาพเสียแล้วรวมสิริอายุ๕๕ปี๒เดือน๒๕วัน

ขอขอบคุณ เพจสำนักปฏิบัติธรรมอุดมทรัพย์ วัดอโศการาม

ข่าวโดย ไผ่ บ่อไร่

 

 

 

Visitors: 344,098