ปัญหาแนวเขตที่ดินทับซ้อน

ปัญหาระหว่างประชาชนกับภาครัฐที่เกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับแนวเขตที่ดินทับซ้อน เพราะมีการใช้แนวเขตประเภทที่ดินหลายฉบับ อีกทั้งมาตราส่วนในแผนที่แต่ละฉบับ ก็แตกต่างกันจนสร้างปัญหาให้ประชาชนในเรื่องสิทธิ์ในที่ดินทำกิน

 ดร.ระวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ให้ข้อมูลว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 320ล้านไร่ แต่ว่าจากข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับพบว่ามีที่ดินของรัฐที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานรวมประมาณ 465 ล้านไร่ซึ่งมีข้อแตกต่างกันมาก จนเกิดเป็นปัญหาแนวเขตที่ดินทับซ้อน ซึ่งทางคณะรัฐมนตรี มอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติกำหนดแนวทางแก้ไขช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ โดยใช้แผนที่มาตราส่วน 1/4000 เพื่อให้ทุกส่วนราชการใช้ และยึดถือเป็นแนวทางเดียวกันจะได้นำมาช่วยแก้ข้อพิพาทเรื่องที่ดิน ระหว่างรัฐกับประชาชน หรือระหว่างรัฐกับเอกชน หรือแม้แต่รัฐกับรัฐ

-โดยการดำเนินการได้แบ่งพื้นที่ประเทศเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 11 จังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด 3 กลุ่มแล้ว โดยจะแล้วเสร็จทั้งหมดทุกกลุ่มได้ภายในปี 2567

- ตัวอย่างของการที่แก้ปัญหาเป็นรูปธรรมแล้วก็เช่นพื้นที่อุทยานทับลาน จังหวัดนครราชสีมาที่ทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือ สปก. ที่ขัดแย้งมาอย่างยาวนานขณะนี้สามารถลดข้อขัดแย้งให้กับประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อทำการเกษตรได้

- ยิ่งปัจจุบันการส่งออกสินค้าเกษตรหลายประเภทต้องระบุแหล่งที่มาเพื่อตรวจสอบย้อนกลับ การปรับปรุงแผนที่และมาตราส่วนใหม่นี้จะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

Visitors: 344,101