หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน ดุสิต กรุงเทพฯ

หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน ดุสิต กรุงเทพฯ

  หลวงพ่อ หรุ่น เก้ายอด เดิมซื่อ ตาหรุ่น ใจภารา เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.๒๓๙๐ เป็นคนเกิดในตำบลเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาซื่อ นายน้อย ใจภารา และมารดาซื่อ นางคำ ใจภารา ซึ่งตั้งรกรากทำนามาแต่บรรพบุรุษ ในตำบลเชียงรากนั่นเอง นายหรุ่นไม่เคยสนใจในการทำนา และไม่เคยช่วยบิดา มารดา ทำงานเลย สนใจแต่เพียงว่ามีพระเกจิอาจารย์องค์ใดที่เก่งกล้าในวิชาอาคมทางไสยศาสตร์อยู่ที่ไหน เป็นต้องหนีออกจากบ้านไปครั้งละหลายวัน บางครั้งก็เป็นเดือน เพื่อขอร่ำเรียนวิชาต่างๆ ทำความอิดหนาระอาใจให้แก่นายน้อยและนางคำเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอยู่ต่อมาบิดาและมารดาเห็นว่าจะเลี้ยงลูกคนนี้ไว้ไม่ได้แล้ว จึงได้ปรึกษากันและกล่าวว่า ถ้าเอ็งไม่ช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ข้าทั้งสองก็เห็นจะเลี้ยงเอ็งต่อไปไม่ได้ เพราะเอ็งเอาแต่เที่ยวเตร่อย่างเดียว นายหรุ่นเป็นคนที่ทิฐิมานะแรงกล้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงก้มลงกราบพ่อแม่แล้วพูดว่า ถ้าชีวิตยังไม่ตายเสียก่อน จะกลับมาสนองพระคุณพ่อแม่ให้ได้ต่อไป พร้อมทั้งรวบรวมเสื้อผ้าข้าวของที่มีอยู่ใส่ในย่ามและลงเรือหายสาบสูญไปเป็นเวลานานโดยไม่มีข่าวและวี่แววอีกเลย

 

 

จนกระทั้ง พ.ศ๒๔๒๕ เสือหรุ่น ใจภารา ปรากฏตัวขึ้น โดยปล้นและฆ่าเจ้าทรัพย์มานับเป็นร้อยๆราย ตลอดทุกตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลอื่นๆ ไม่มีใครที่จะปราบเสือหรุ่นลงได้ แม้แต่กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะเสือหรุ่นผู้นี้แก่กล้าวิชาอาคมสามารถผูกหุ่นลวงให้เจ้าหน้าที่ยิงและจับมานับครั้งไม่ถ้วน และตัวเองก็สามารถหลบหนีจากเงี้ยมมือของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ในสมัยนั้นไปได้ทุกครั้ง ทำความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่เจ้าหน้าที่ไปตามๆกันทางการสมัยนั้นยังไม่รุ่งโรจน์พอ เครื่องมืออาวุธยุทธภัณฑ์ก็ล้าสมัย เจ้าหน้าที่ก็มีน้อย อีกทั้งยานพาหนะก็ไม่เคยปรากฏว่ามีกันเลย จนถึงพูดกันในสมัยนั้นว่า นักเลงโตกว่าตำรวจ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่สามารถปราบเสือหรุ่นได้ กิตติศัพท์ของเสือหรุ่นในสมัยนั้นเลื่องลือไปจนกระทั้งชาวบ้านทุกๆตำบลของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พากันนอนไม่หลับจนกระทั้งนายอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เขียนประกาศปิดไว้ในที่ต่างๆให้เสือหรุ่นเข้าพบ โดยมีข้อแม้ว่าให้เสือหรุ่นมาเพียงคนเดียว และห้ามพกอาวุธ พบกันที่บ้านพักนายอำเภอ จะได้เจรจากันเพื่อเข้ารับราชการต่อไป โดยจะไม่เอาผิดในครั้งที่แล้วๆมา เมื่อเสือหรุ่นได้ทราบหนังสือประกาศของนายอำเภอแล้วจึงรีบเดินทางมาพบนายอำเภอทันที เพื่อมอบตัวหวังกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี

หลวงพ่อหรุ่น

แต่เสือหรุ่นติดกับนายอำเภอเสียแล้ว เพราะนายอำเภอจัดเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน พร้อมทั้งอาวุธปืนรายล้อมบริเวณนั้นไว้อย่างหนาแน่น เสือหรุ่นได้เดินทางมายังบ้านพักนายอำเภอ เพื่อหวังเจรจากัน เมื่อใกล้ถึงบ้านพัก เสือหรุ่นได้ยินเสียงนายอำเภอตะโกนมาว่า เสือหรุ่นจงหยุดอยู่กับที่ และยอมมอบตัวเสียแต่โดยดี มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่และชาวบ้านที่รายล้อมอยู่รอบตัวเสือหรุ่นจะยิงทันทีเสือหรุ่นเมื่อรู้ตัวว่าถูกลวง ก็มิได้สะทกสะท้านแต่ประการใด นึกแค้นใจนายอำเภอเป็นที่สุดจึงสำรวมใจเป็นสมาธิแล้วภาวนาคาถาที่ได้ร่ำเรียนมา ผูกหุ่นลวงนายอำเภอไว้ และหนีฝ่าวงล้อมรอดไปได้

นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เสือหรุ่นได้ทวีการปล้นฆ่าหนักยิ่งขึ้น จนเจ้าเมืองพระนครศรีอยุธยาได้เรียกประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลต่างๆมาพบและปรึกษาหารือกันว่าเสือหรุ่นนี้ยากแก่การปราบปรามอยากจะเกลี้ยกล่อมให้เสือหรุ่นกลับใจเข้ารับราชการเสีย จึงเขียนประกาศด้วยตัวของเจ้าเมืองเองให้เสือหรุ่นมาพบกับท่านโดยตรงโดยท่านจะไม่เอาโทษทัณฑ์กับเสือหรุ่นเลยเพราะทางการต้องการคนดีใว้ใช้ต่อไปเมื่อเสือหรุ่นทราบเรื่อง ครั้งแรกก็ยังลังเลใจอยู่ เพราะเคยถูกนายอำเภอต้มมาหนหนึ่งแล้ว แต่ใจหนึ่งก็คิดว่าตัวเองได้ก่อกรรมทำเข็ญสร้างเวรกรรมไว้มากแล้ว คิดจะกลับตัวกลับใจเลิกเป็นโจรเสียที จึงตัดสินใจเขียนจดหมายถึงเจ้าเมืองพระนครศรีอยุธยาว่า ตนยินดีที่จะพบกับท่านเจ้าเมืองทุกเวลาแต่มีข้อแม้ว่าให้ท่านเจ้าเมืองมาเพียงคนเดียว เสือหรุ่นรับรองในความปลอดภัย และให้พบได้ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ลานนวดข้าวหลังโรงสีเวลา ๒ ทุ่มตรง

ตะกรุดกระดูกห่าน

ครั้นถึงเวลานัดเจ้าเมืองได้มาถึงที่ลานนวดข้าวก่อน พอได้เวลาเสือหรุ่นจึงเดินแหวงพุ่มไม้ออกมาพบ ท่านเจ้าเมืองจึงพูดขึ้นว่าหรุ่นเอ๊ยสิ่งใดที่ผ่านมาขอให้ลืมมันเสีย จงกลับตัวกลับใจเสียใหม่ ทางราชการยังขาดคนดีมีฝีมือเช่นเจ้าอยู่ ฉะนั้นข้าจะแต่งตั้งให้เอ็งเป็นกำนันปกครองคนในตำบลเชียงรากบ้านเดิมต่อไป เสือหรุ่นได้ฟังดังนั้นก็ตื่นตันใจจึงทรุดตัวลงนั่งยกมือไหว้ท่านเจ้าเมืองและกล่าวว่าจะพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด นับแต่นั้นมาเสือหรุ่นก็ได้ทำหน้าที่อย่างดีตลอดมาประมาณ ๓ ปี จึงได้พระราชทานยศเป็น ขุนกาวิจล ใจภารา หลังจากได้รับพระราชทานยศเพียง๑ ปี ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก คือ เสืออุ่น ได้มาปรากฏตัวขึ้นในตำบลนั้น ขุนกาวิจลจึงเรียกเสืออุ่นเข้ามาพบแล้ว ท่านกำนันตำบลเชียงรากหรือเสืออหรุ่นจึงอบรมสั่งสอนให้เสืออุ่นให้ประพฤติแต่สิ่งดีงาม ขอให้เลิกทำความชั่วเสียเพราะได้เคยสร้างเวรสร้างกรรมไว้มาก ส่วนเสืออุ่นนั่งฟังอยู่ก็มิได้รับคำแต่ประการใด กับนึกในใจว่า ขุนการวิจลเห่อยศศักดิ์จนลืมเพื่อนเก่าๆเสียสิ้น จึงรีบขุนกาวิจล กลับไป

เมื่อเสืออุ่นลาขุนกาวิจล ใจภารา กลับมาด้วยความไม่พอใจเสืออุ่นเริ่มปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์คนแล้วคนเล่า แล้วเมื่อปล้นฆ่าแล้วทุกๆราย เสืออุ่น จะเอ่ยซื่อ เสือหรุ่น ปล้นฆ่าทุกครั้ง ความทราบถึงเจ้าเมืองพระนครศรีอยุธยาให้มีความสงสัยจึง มีหนังสือถึงขุนกาวิจลให้เข้ามาพบด่วน ฝ่ายขุนกาวิจลได้รับหนังสือแล้วคิดว่าการครั้งนี้ เราคงมีความผิดแน่ๆ เพราะเจ้าเสืออุ่นถูกจับได้ซัดทอดมาถึง และอีกประการหนึ่ง ใครๆ ก็ย่อมรู้ว่าเสืออุ่นคือ สมุนมือขวาของขุนกาวิจลมาก่อนคงจะรู้เห็นเป็นใจกันแน่จึงได้หลบหนีหายเข้ามาในกรุงเทพ แต่เจ้าหน้าที่ก็พยายามล่าตัวอยู่ตลอดเวลา ขุนกาวิจลเห็นว่าถ้าขืนอยู่ในกรุงเทพต่อไป มิวันใดก็วันหนึ่งต้องถูกจับจนได้ จึงหนีย้อนกลับขึ้นไปบวชอยู่ที่วัดลำลูกกานั้นเอง ประมาณปีพ.ศ. ๒๔๓๑ โดย พระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่พระธรรมราชานุวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ประมาณ ๓ พรรษาครึ่ง เมื่อเรื่องเงียบหายไป ท่านจึงเดินทางเข้ามากรุงเทพ มาประจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน ถนนนครไชยศรี อำเภอดุสิต จังหวัดกรุงเทพ ต่อจากนั้นเมื่อลูกหลานทราบข่าวก็พากันมาพร้อมทั้ง สานุศิษย์เพื่อขอของขลังจากท่าน ในระหว่างนั้นท่านยังไม่ได้ทำเครื่องรางของขลังไว้เลยท่านจึงได้ลงมือสักหลังมาตั้งแต่บัดนั้นจนมีกิติศัพท์ร่ำลือว่า (เก้ายอด) กรุงเทพสมัยนั้นย่อมทราบดีว่า นักเลงดังๆ ไม่มีใครเกินก๊ก (เก้ายอด) เครื่องรางของขลังที่ท่านได้สร้างไว้ระยะหลังมีอยู่ ๔ชนิด คือ

๑. เหรียญรูปไข่รูปเหมือนครึ่งองค์

๒.ตะกรุดโทนดอกยาวประมาณ ๑ เกรียก (ยาว ประมาณปลายนิ้วโป้ง ถึงนิ้วชี้ หรือ ๒ องคุลีนิ้ว)

๓.กระดูกห่าน กระดูกแร้ง ลงจารขอม ยาวประมาณ๑ องคุลี

๔. แหวนเก้ายอด เป็นชิ้นสุดท้าย

ของทุกชิ้นใน ๔ชนิดนี้ หาได้ยากมากเพราะท่านได้สร้างไว้จำนวนน้อย และราคาก็สูงในปัจจุบัน อภินิหารซึ่งตามที่ได้ปรากฏมาเป็นของ คงกระพันชาตรีโดยตรง

สำหรับตะกรุดโทน หลวงพ่อหรุ่นนั้นมี ๒ ชั้น ชั้นแรกทำด้วยตะกั่ว ชั้นที่สอง ทำด้วยทองแดงมีความยาวประมาณ ๑ เกรียก มีทั้งชนิด ถักเชือกหุ้มและไม่ถักเชือกหุ้ม ภายหลังลงอักขระและม้วนเรียบร้อย

เครื่องรางอีกชนิดหนึ่ง ของหลวงพ่อหรุ่น

คือตะกรุด ทำด้วยกระดูกห่าน เป็นกระดูกห่านซึ่งดูเป็นสีขาวนวล ด้านนอกลงอักขระไว้เต็มสำหรับตะกรุดกระดูกห่านนี้อาจารย์พู่ ลูกศิษย์หลวงพ่อซึ่งได้รับมอบหมายให้สักแทน ภายหลังเมื่อหลวงพ่อเสียแล้วเล่าให้ฟังว่า ตะกรุดกระดูกห่าน และเครื่องรางตลอดจนเหรียญนั้นท่านไม่ได้ดำริทำขึ้นเอง เป็นเพียงลูกศิษย์ไปแสวงหาและทำกันมาเสร็จแล้วก็นำมามอบให้ หลวงพ่ออาจารย์หรุ่น ปลุกเสกให้ ซึ่งท่านก็ทำให้ทุกรายไป

หลังจากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวันได้ไม่นานนัก หลวงพ่อหรุ่นก็ได้อาพาธกระเสาะกระแสะเรื่อยมา ด้วยโรคอัมพาตและท่านได้ถึงกาลมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ณ.วัดอัมพวัน นั่นเอง ในกุฏิหลังโบสถ์ปัจจุบันนี้ คำนวณอายุได้ ๘๑ ปี ๓๕ พรรษา พอดี

 

ข่าวโดยไผ่ บ่อไร่

ขอขอบคุณข่าว 108prageji.com

 
Visitors: 344,100