วันสิ่งแวดล้อมโลก

 

วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 

(WORLD ENVIRONMENT DAY)

ในวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีนั้น เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นวันที่เราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสภาพแวดล้อมของเราที่ย่ำแย่ลงทุกวัน สังเกตได้จากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งหิมะขั้วโลกเหนือละลาย น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรืออากาศร้อนขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนมาจากการที่มนุษย์เป็นคนทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมดี ๆ นั่นเอง ทำให้หน่วยงานของโลกจัดตั้งวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้น5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (WORLD ENVIRONMENT DAY)

 


วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน
ในวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีนั้น เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นวันที่เราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสภาพแวดล้อมของเราที่ย่ำแย่ลงทุกวัน สังเกตได้จากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งหิมะขั้วโลกเหนือละลาย น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรืออากาศร้อนขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนมาจากการที่มนุษย์เป็นคนทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมดี ๆ นั่นเอง ทำให้หน่วยงานของโลกจัดตั้งวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้น
สำหรับจุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day นั้น จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮล์ม ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ โดยเรียกการประชุมนี้ว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” หรือ “UN Conference on the Human Environment” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่าง ๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP : United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้นไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือจากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
ซึ่งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผลจึงได้กำหนดวิธีการไว้ดังนี้
– สร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนักศึกษาทั่วไป
– ให้การสนับสนุนทางวิชาการ และเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
– เสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม​

นอกจากนั้น ยังมีข้อตกลงจากการประชุมให้มาดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ซึ่งประเทศไทยก็ได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และได้ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็น 3 หน่วยงาน คือ
1. กรมควบคุมมลพิษ
2. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมและในส่วนของสถาบันการศึกษาก็ได้มีการจัดสอนหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในหลาย ๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสื่อมวลชนก็ได้ส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวในปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งวันสิ่งแวดล้อมโลกในแต่ละปีก็จะมีหัวข้อที่ต่างกันออกไป
– พ.ศ. 2528 เยาวชน ประชากร และสิ่งแวดล้อม (Youth, Population and Environment)
– พ.ศ. 2529 ต้นไม้เพื่อสันติภาพ (A Tree for Peace)
– พ.ศ. 2530 Public Participation, Environment Protection and Sustainable Development
– พ.ศ. 2531 การมีส่วนร่วมของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (When people put the environment first, development will last)
– พ.ศ. 2532 ภาวะโลกร้อน (Global Warming, Global Warming)
– พ.ศ. 2533 เด็กและสิ่งแวดล้อม (Children and the Environment (Our Children, Their Earth))
– พ.ศ. 2534 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change : Need for Global Partnership)
– พ.ศ. 2535 Only One Earth : Care and Share
– พ.ศ. 2536 Poverty and the Environment : Breaking the Vicious Circle
– พ.ศ. 2537 โลกใบเดียว ครอบครัวเดียวกัน (One Earth, One Family)
– พ.ศ. 2538 ประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมโลก (We The Peoples, United for the Global Environment)

– พ.ศ. 2539 รักโลก : ดูแลถิ่นฐานบ้านเรา (Our Earth, Our Habitat, Our Home)
– พ.ศ. 2540 เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนบนผืนโลก (For Life one Earth)
– พ.ศ. 2541 เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตยั่งยืน (For Life on Earth “Save our Seas”)
– พ.ศ. 2542 รักโลก รักอนาคต รักษ์สิ่งแวดล้อม (“Our Earth, Our Future…Just Save It”)
– พ.ศ. 2543 ปี 2000 สหัสวรรษแห่งชีวิตสิ่งแวดล้อม : ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อโลก เพื่อเรา (2000 The Environment Millennium : Time to Act)
– พ.ศ. 2544 เชื่อมโยงโลกกว้าง ร่วมสร้างสานสายใยชีวิต (CONNECT with the World Wide Web of Life)
– พ.ศ. 2545 ให้โอกาสโลกฟื้น คืนความสดใสให้ชีวิต (Give Earth a Chance)
– พ.ศ. 2546 รักษ์น้ำเพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤตจะมาเยือน (Water – Two Billion People are Dying for it !)
– พ.ศ. 2547 ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย (Wanted! Sea and Oceans – Dead or Live ?)
– พ.ศ. 2548 เมืองเขียวสดใส ร่วมใจวางแผนเพื่อโลก (GREEN CITIES PLAN FOR THE PLANET !)
– พ.ศ. 2549 เพิ่มความชุ่มชื้น คืนสู่ธรรมชาติ (DON’T DESERT DRYLANDS !)
– พ.ศ. 2550 ลดโลกร้อน ด้วยชีวิตพอเพียง (MELTING ICE-A HOT TOPIC)

– พ.ศ. 2551 ลดวิกฤตโลกร้อน : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Co2 Kick the Habit ! Towards a Low Carbon Economy)
– พ.ศ. 2552 คุณคือพลัง ช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อน (Your Planet Needs You – Unite to Combat Climate Change)
– พ.ศ. 2553 ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก (Many Species One Planet One Future)
– พ.ศ. 2554 ป่าไม้มีคุณ เกื้อหนุนสรรพชีวิต คิดถนอมรักษา (Forests : Nature at your Service)
– พ.ศ. 2555 คุณคือพลัง สร้างสรรค์เศรษฐกิจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy : Does it include you?)
– พ.ศ. 2556 คิด กิน อยู่ (Think. Eat. Save.)
– พ.ศ. 2557 ยกระดับความคิด แก้วิกฤตน้ำท่วมโลก (Raise your voice not the sea level)
– พ.ศ. 2558 ฝัน 7 พันล้านใจ คิดห่วงใยผืนโลก (Seven billion Dreams, One Planet Consumer With Care)
– พ.ศ. 2559 หยุดซื้อ หยุดขาย หยุดฆ่า แก้ปัญหาสัตว์ป่าสูญพันธุ์ (Zero Tolerance For The Illegal Wildlife Trade)
– พ.ศ. 2560 ชีวิตฉันผูกพันกับธรรมชาติ (Connecting People to Nature : I’m With Nature)
– พ.ศ. 2561 รักษ์โลก เลิกพลาสติก (Beat Plastic Pollution : If you can’t reuse it, refuse it!)
โลกร้อน เกิดภัยพิบัติมากมาย ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะร่วมช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมกันแบบจริง ๆ จัง ๆ เพื่อเก็บมันเอาไว้ให้ลูกหลานของเราได้เห็น

ม.ส.ท. : มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย | เป็นคนดีมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนารากฐานทรัพยากรธรรมชาติและสังคมให้ยั่งยืน (tei.or.th)

 

Visitors: 343,846