ท่านก๋งเตื่อง เตชปญฺโญ (พระเกจิสองแผ่นดิน ไทย-กัมพูชา)

ท่านก๋งเตื่อง เตชปญฺโญ (พระเกจิสองแผ่นดิน ไทย-กัมพูชา) วัดคลองจาก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

ประวัติท่านก๋งเตื่อง นามเดิมชื่อ นายเตื่อง ศรีษะเกตุ เกิดวันเสาร์ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2467 ปีชวด

นายเตื่อง อาศัยอยู่ในตำบลเเหลมเปาะ ในเขตจังหวัดเกาะกง กัมพูชา ชาวบ้านละแวกนั้นพูดภาษาไทย ท่านมีพี่น้อง 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 ชาวเกาะกงสมัยนั้นส่วนมากก็มีอาชีพทำไรทำนา มีทำประมงบ้างไม่มาก ในยุคสมัยนั้นพระเกจิผู้เรืองนามมีด้วยกัน 3รูป 

 

 

ได้แก่ ท่านพ่อรอด วัดมรคาราม วัดพนมกรุง ประเทศกัมพูชา ,ท่านพ่อเวียน วัดประชุมชน ประเทศกัมพูชา ,ท่านพ่อหมึก วัดปากคลองสนามควาย ประเทศกัมพูชา

ท่านก๋งเตื่องท่านเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำมาตั้งเเต่หนุ่ม ท่านมีครอบครัวแบบชาวบ้านปกติทั่วไปในสมัยนั้น

          ในช่วงอายุ 24 นั้นท่านอุปสมบท โดยมี  หลวงพ่อรอด วัดมรคาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ,พระอาจารย์เบิง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ,พระอาจารย์แนบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากบวชเป็นพระแล้ว พระเตื่องก็เข้ากราบขอเป็นศิษย์พุทธาคม กับหลวงพ่อรอด

 ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย พระธรรมคำสั่งสอน และวิชาอาคมต่างๆ พระเตื่องบวชก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน วิชาต่างๆจนแตกฉาน ขณะนั้นได้บวชได้ 2 พรรษา ด้วยความยากจนของทางบ้านและครอบครัวที่ท่านต้องรับผิดชอบ และขณะนั้นทาง

ชายแดนเองก็มีเหตุการความไม่สงบมากมาย ทำให้ท่านเป็นห่วงครอบครัว พระเตื่องจึงกราบลาหลวงพ่อรอด เพื่อลาสิกขาบท มาดูแลครอบครัว บิดามารดา

          จนกระทั่งช่วงอายุ 63 ปี เมื่อท่านเห็นว่าครอบครัวมีความสุขสบายและลูกเติบโตจนช่วยเหลือตนเองได้แล้ว ท่านจึงมีความคิดที่อยากจะกลับเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพักตร์อีกครั้ง ท่านจึงร่ำลาครอบครัวและลูกหลานเพื่อออกบวช 

ครอบครัวท่านก็ไม่มีใครกล้าขัดศรัทธาที่ในความตั้งใจของท่านที่จะกลับเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพักตร์ที่มีมากของท่าน  ในการบวชครั้งนี้  ท่านพ่อเลี่ยน เจ้าอาวาสวัดเเหลมเปาะ ให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ,พระอาจารย์ไพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ,

พระอาจารย์พร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ บวชให้ พอท่านบวช ท่านก็จำพรรษาที่วัดเเหลมเปาะ อยู่เป็นเวลา 10 กว่าพรรษา แล้วท่านก็เริ่มนำวิชาความรู้ที่ท่านได้ร่ำเรียนกับหลวงพ่อรอด มาทำตะกรุดและลูกอมแจกลูกหลานและชาวบ้านแหลมเปาะ 

ขณะนั้นตะกรุด มีประสบการณ์จนเป็นที่ล่ำลือและเป็นที่ต้องการมากในหมู่คนเเหลมเปาะและชาวบ้านละแวกใกล้เคียง จนมาครั้งปี 2540  ท่านก๋งเตื่องมาเยี่ยมเจ้าอาวาสวัดคลองม่วง ซึ่งในขณะนั้นท่านอาพาธ เจ้าอาวาสวัดคลองม่วง

ก็ฝากฝัง ให้ท่านก๋งเตื่องรับเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองม่วงต่อจากท่านหากว่าท่านต้องมรณภาพลง ท่านก๋งเตื่องก็ตกลงรับปาก จนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดคลองม่วงได้ถึงแก่การมรณภาพ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง เเละกระทรวงธรรมการ 

จึงถวายการเเต่งตั้ง ท่านก๋งเตื่อง เตชปญฺโญ ให้ดำรงตำเเหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองม่วงมาตลอด

           จนกระทั่งปี 2548 ท่านก๋งเตื่องก็เริ่มอาพาธด้วยอาการเหน็บชาที่ขา ท่านจึงได้มอบหมายให้พระอาจารย์หวัน(ลูกศิษย์)ดูแลรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดคลองม่วง แล้วท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่ประเทศไทย ที่วัดคลองจาก ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

 เพื่อสะดวกในการหาหมอรักษาร่างกาย ซึ่งลูกหลานท่านก๋งเตื่องก็ได้ตั้งรากฐานอยู่ที่หมู่บ้านคลองจากนั้นด้วย และท่านก๋งเตื่องก็ไม่เคยละทิ้งที่จะกลับไปดูแลวัดคลองม่วงสม่ำเสมอ

       ท่านก๋งเตื่อง ท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดคลองจาก ท่านก็ได้รับการนับถือจากเจ้าอาวาสวัดคลองจากให้ท่านก๋งเตื่องเป็นประธานสงฆ์วัดคลองจาก ท่านก๋งเตื่องท่านก็ไม่ลืมที่จะทำวัตถุมงคลโดยเฉพาะตะกรุด แจกชาวบ้านคลองจากและชาวกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย 

จนมีประสบการณ์มากมายหลายครั้งหลายครา และทุกคนก็ได้ยกย่องนับถือท่านว่าเป็น “พระเกจิสองแผ่นดิน(ไทย-เขมร)”

        ท่านก๋งเตื่อง เป็นพระที่สมถะ มีความเมตตาสูงมาก เป็นพระที่มีความกตัญญูกตเวทิตาต่อครูบาอาจารย์ของท่านมากในเดือน 10 ของทุกกปีท่านก๋งเตื่องจะจัดให้มีพิธีไหว้ครูบาอาจารย์ของท่านไม่เคยเว้น ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้แก่ลูกศิษย์ลูกหา

 และพุทธศาสนิกชน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะทำให้ชาวคลองจากและชาวกัมพูชาเคารพนับถือศรัทธาท่านอย่างแรงกล้า ทำให้ชื่อเสียงวัตถุมงคลของท่านล่ำลือออกไปทั่วทั้งจังหวัดและเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้สะสมพระเครื่องตามลำดับ 

หลังจากนั้นจึงได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลของท่านออกมาจำนวนหลายรุ่นด้วยกัน วัตถุมงคลของท่านจะมีพุทธคุณเน้นไปทางด้าน คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย เมตตา ค้าขาย กันสิ่งไม่ดีต่างๆ.."นะโม กัน กัน"

         ท่านก๋งเตื่อง มรณภาพเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 เวลา 02.40 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลตราด ด้วยอาการป่วยถุงลมเหลือน้อย หายใจไม่สะดวก สิริอายุ 96 ปี พิธีรดนํ้าศพท่านก๋งเรื่อง เตชปญโญเวลา 15.00 น. ที่ศาลาวัดคลองจาก 

          สิ่งที่ท่านได้ฝากไว้ให้เหล่าลูกศิษย์ได้จดจำคือคำสอนที่ดูง่ายๆแบบบ้านๆแต่มีความหมายลึกซึ้ง แนวปติบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เหล่าศิษยานุศิษย์ ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อช้าง เตชปญฺโญ วัดจุกเฌอ แปดริ้ว ได้เอ่ยถึงท่านก๋งเตื่อง โดยมีใจความว่า

"ท่านก๋งเป็นพระเถระอาจารย์ที่หลวงพ่อ ได้มองเห็นว่าท่านนั้นสว่างมาก มีกิจวัตรที่งดงาม เป็นที่เคารพแก่การกราบไหว้ หลวงพ่อเองก็ยังศรัทธาในตัวท่านก๋ง" ทั้งที่ท่านทั้งสองไม่เคยเจอกันเลย 

          วัตถุมงคลของท่านก๋งเตื่องนั้นมีประสบกรณ์มาก เพราะแถวชายแดนทั้งสองฝั่งไทย-กัมพูชา มีการสู้รบกันอยู่เสมอ  ถ้าไม่แน่จริงทหารกัมพูชาคงไม่ขอให้ท่านก๋งทำตะกรุด เพื่อพกติดตัวกันแทบทุกคน จนตัวท่านก๋งเองแทบไม่ได้พัก พอย้ายมาอยู่ฝั่งไทยก็มีเรื่องเล่ามากมาย

ถ้าคนในพื้นที่จะรู้กันดีโดยเฉพาะเหล่าทหาร ตำรวจตะเวนชายแดน ที่ต้องออกลาดตะเวนทุกคนต้องพกวัตถุมงคลของท่านก๋งเตื่อง อย่างน้อย1ชิ้น เพราะมีความเชื่อว่าจะปกป้องตนเองให้พ้นภัย แคล้วคลาด ปลอดภัย เป็นมหาอุด ด้วยความเชื่อและความศรัทธา

          วัตถุมงคลของท่านก๋งเตื่องที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ พ่อค้าแม่ขาย สายเมตตา ก็คงหนีไม่พ้น ตำนานพระผงกระดานผี ที่เลื่องลือชาได้ว่าเป็นวัตถุมงคลอาถรรพ์ ผู้ที่จะทำได้นั้นต้องมี ตบะเดชะ สมาธิแกร่งกล้า มีทั้งพิมพ์ รูปเหมือน(ปี56) พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่(ปี5) พระขุนแผนพิมพ์เล็ก(ปี57) 

พระปิดตา(ปี57)  พระผงดวงเศรษฐี(ปี60) ลูกอมผงกระดานผี(ปี60)  นอกจากพระผงกระดานผีแล้ว ก็ยังมีวัตถุมงคลอีกหลายรุ่นที่เป็นที่นิยม อทิเช่น ตะกรุดจารมือ เหรียญรุ่นแรก เหรียญเจริญพรสร้างกุฎิ รูปหล่อโบราณ พระกริ่ง เหรียญหล่อโบราณ เหรียญไหว้ครู91 เหรียญเสมา เหรียญชนะศึกลิงลม ปิดตาข้าวตอกแตก พระปิดตาอุตโม เหรียญเม็ดยา และวัตถุมงคลอีกหลายรุ่น

ข้อมูลจากชมรมท่านก๋งเตื่อง เตชปญฺโญ

ข่าวโดย ไผ่ บ่อไร่

Visitors: 344,102