หลวงพ่อรุ่ง

หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ  พระเถราจารย์ผู้เข้มขลัง 

ประวัติหลวงพ่อรุ่ง ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๖ ที่บ้านหลังวัดน้อยนพคุณ อำเภอดุสิต กรุงเทพมหานคร

หลวงพ่อรุ่ง เป็นบุตรของนายพ่วง นางกิม พ่วงประพันธ์ ได้เข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่วัดน้อยนพคุณ โดยมีหลวงพ่อทัพ

วัดน้อยนพคุณเป็นผู้สอน ร่ำเรียนอยู่จนอายุครบบวชจึงได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดน้อยนพคุณ โดยมีหลวงพ่อทัพ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังจากบวชได้ไม่นานหลวงพ่อทัพ ขณะที่จำพรรษาอยู่นั้น ก็ได้

รับการชี้แนะจากหลวงพ่อทัพว่าวิชาคาถา อาคมอักขระเลขยันต์ต่างๆ จะศักดิ์สิทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อมีสมาธิจิตที่กล้าแข็งและการจะทำสมาธิจิตให้กล้าแข็งได้ก็ต่อเมื่อมีการฝึกสมาธิจิตวิปัสสนากรรมฐานได้แข็งกล้า

แต่ไม่ทันที่จะได้ร่ำเรียนอะไร หลวงพ่อร่วมซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อทัพ ได้สร้างสำนักสงฆ์ท่ากระบือขึ้น

แต่ขาดพระผู้ช่วย จึงได้มากราบขอให้หลวงพ่อทัพช่วยเหลือ หลวงพ่อทัพได้ขอแรงให้ท่านไปช่วยงาน

พระอาจารย์ร่วมเป็นศิษย์ของหลวงพ่อทัพอีกองค์ ตอนนั้นหลวงพ่อร่วมได้กำลังสร้างสำนักสงฆ์ท่ากระบือ

อยู่ ไม่มีพระเลขาที่จะคอยช่วยงาน ต่อมาพระอาจารย์ร่วมสิ้นบุญในผ้าเหลืองได้มากราบลา หลวงพ่อทัพ

ลาสิกขาบทที่วัดน้อยนพคุณ หลวงพ่อทัพจึงถามพระภิกษุรุ่งว่าสนใจจะรับหน้าที่เป็นเจ้าสำนักสงฆ์ต่อหรือไม่เห็นว่าท่านก็เริ่มคุ้นเคยกับชาวบ้านแถวนั้นแล้ว ความเป็นอยู่ก็ไม่อัตคัดขัดสนอันใด จึงได้รับปากกับ

หลวงพ่อทัพสาสน์งานสร้างสำนักสงฆ์ท่ากระบือ ต่อจาก

หลวงพ่อร่วม ท่านใช้เวลาไม่กี่ปีก็สามารถสร้างสำนักสงฆ์

ท่ากระบือจนแล้วเสร็จ ต่อมาขอพระราชทานวิสุงคามสีมา

มีนามเป็นทางการว่า วัดท่ากระบือ แต่มิทันไรหลวงพ่อทัพ

ก็มรณภาพลงไปก่อนที่หลวงพ่อรุ่งจะได้ไปฝากตัว เพื่อร่ำ

เรียนวิชาคาถาอาคม คงไว้แต่คำสั่งสอนก่อนที่จะไปสร้าง

วัดท่ากระบือว่ารากฐานของการเรียนสรรพวิชาคาถาอาคม หลวงพ่อรุ่ง

ต่างๆ ให้ได้เข้มขลังนั้นต้องมาจากการเจริญสมถวิปัสสนากรรมฐานให้ดีเลิศเสียก่อน เมื่อเป็นเช่นนั้น หลวงพ่อรุ่งได้ทราบข่าวมาว่า หลวงพ่อเกิด วัดสุนทรประสิทธิ์ (กำแพง) เป็นผู้เชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระ ท่านจึงได้เดินทางไปฝากตัวร่ำเรียนกับหลวงพ่อเกิด ด้วยความมานะอุตสาหะหลวงพ่อรุ่งจึงได้ร่ำเรียน ได้อย่างคล่องแคล้ว จนเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจจากหลวงพ่อเกิดให้ท่านเป็นครูสอนกรรมฐานต่อจากท่าน หลวงพ่อรุ่งได้อยู่สอนที่วัดกำแพงจนมีลูกศิษย์ลูกหา ที่ไว้ใจได้ให้สอนแทนท่านวัดกำแพง ท่านจึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อหล่ำ วัดอ่างทอง พระอาจารย์ท่านนี้เก่งในเรื่องคงกระพันชาตรีเป็นยอด

เมตตามหานิยมเป็นเยี่ยม ต่อจากนั้นก็ไปร่ำเรียนต่อกับหลวงพ่อเซ่ง วัดหงส์อรุณรัศมี ท่านนี้มีดีทางด้านมหาอุด ขณะที่ร่ำเรียนอยู่ที่สำนักนี้ ก็ได้มีฆราวาสท่านหนึ่งมาจอดพักเรืออยู่หน้าวัด ได้บอกกับชาวบ้านที่

เดินผ่านไปผ่านมาว่า ใครอยากจะเจอมหาอุดตัวจริงให้ไปเอาแผ่นโลหะมาจะลงมหาอุดให้ ได้มีชาวบ้าน ในแถบวัดนำแผ่นโลหะไปให้ฆราวาสคนนั้นลงแล้วนำไปยิง ปรากฏว่ายิงไม่ออกตามที่ฆราวาสคนนั้นได้กล่าวไว้ เรื่องรู้ถึงหูหลวงพ่อเซ่งจึงได้วานให้ชาวบ้านไปตามฆราวาสคนนั้นให้มาพบ แล้วจึงขอเรียนวิชา มหาอุด โดยหลวงพ่อรุ่งก็ได้เรียนไปพร้อมกัน นับเป็นการเจอที่ประหลาดหลังจากนั้นก็ไม่มีใครได้พบเจอฆราวาสท่านนั้นอีกเลย

    หลวงพ่อรุ่งท่านเป็นพระที่ชอบเดินธุดงค์ท่านมักจะออกเดินธุดงค์ในทุกๆ ปีและมักจะออกธุดงค์เพียงรูปเดียวนับว่าท่านเชื่อมั่นในกรรมฐานของท่านมากๆว่าไม่ลองใคร ส่วนใหญ่ทานจะธุดงค์ไปทางภาคเหนือผ่านไปทางสุโขทัย ตาก ลำปาง เชียงใหม่เลยไปถึงพม่า และกลับมาในเส้นทางเดิมระหว่างทาง ได้แวะ เยี่ยมและขอร่ำเรียนวิชากับอาจารย์ปลั่ง ฆราวาสขมังเวทย์ ซึ่งเป็นเกลอกับโยมพ่อของหลวงพ่อรุ่งเองระหว่างทางกลับนั้นได้แวะปักกลดแถววัดของหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย จังหวัดสิงห์บุรี และได้ข่าวว่าท่านนี้เก่งในเรื่องพระปิดตา และวิชาถอนคุณไสย์ จึงได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ เมื่อร่ำเรียนจนเสร็จสิ้นแล้วหลวงพ่อเชยยังได้ให้

พระปิดตามาด้วยหลวงพ่อรุ่งได้นำออกแจกจ่ายจนมีบางคนเข้าใจผิดว่าเป็นพระ หลวงพ่อรุ่งของหลวงพ่อรุ่งสร้าง

   หลวงพ่อรุ่งท่านเป็นพระที่มีญาณพิเศษนานับปการจนลูกศิษย์ลูกหาได้สัมผัสถึงความศักดิ์สิทธิ์กันอย่างมากมาย จนเป็นที่กล่าวขานถึงกันอย่างมากในแถบวัดท่ากระบือและใกล้เคียงจนอยู่มาวันหนึ่งช่วง

ต้นปีพ.ศ.๒๕๐๐ หลวงพ่อรุ่งได้เอ่ยปากบอกกับศิษย์ว่า อยากได้อะไรก็ให้ขอนะเพราะฉันจะเสียในปีนี้

แล้ว และได้พูดบ่อยขึ้น จนในวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๐ หลวงพ่อรุ่งก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราใน

ขณะที่ท่านอายุได้ ๘๕ ปี ๖๕ พรรษา ซึ่งก็เป็นจริงตามที่ท่านได้ปรารภไว้อย่างไม่ผิดเพี้ยน นับเป็นการ

สูญเสียพระคณาจารย์ที่มีคุณอันวิเศษไปอีกหนึ่งท่าน

ประวัติหลวงพ่อรุ่ง  (โดยสังเขป)

“หลวงพ่อรุ่งวัดท่ากระบือ” ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดพระเกจิ ได้ฉายา “เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน” วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง โดยเฉพาะ “เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก” ซึ่งปัจจุบันค่านิยมค่อนข้างสูงและหาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่ง

พระไพโรจน์วุฒาจารย์ หรือ หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดท่ากระบือ นามเดิมว่า รุ่ง เป็นชาว อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ศึกษาร่ำเรียนหนังสือไทยและขอม ตลอดจนภาษาบาลีมูลกัจจายน์ กับพระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดน้อยนพคุณ ที่กรุงเทพฯ

เมื่ออายุครบอุปสมบท บวชที่วัดน้อยนพคุณ มี พระอาจารย์ทิม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการบัว วัดใหม่ทองเสน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เคลือบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “ติสสโร”

ต่อมาย้ายมาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์ท่ากระบือ อ.กระทุ่มแบน ซึ่งเป็นบ้านเกิด ซึ่งขณะนั้น พระภิกษุร่วม พันธ์ชาตรี เป็นเจ้าสำนักอยู่

ใฝ่ใจศึกษาวิทยาการต่างๆ ทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระจนแตกฉาน และเมื่อมีโอกาสจะออกธุดงค์ปลีกวิเวกฝึกจิตปฏิบัติธรรม และแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อศึกษาด้านวิทยาคมเพิ่มเติม

ได้ศึกษากับพระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษในยุคนั้นหลายๆ รูป อาทิ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่นาค วัดสุนทรสถิตย์ หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา หลวงปู่รุณ วัดช้างเผือก หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ฯลฯ

ยังกล่าวกันว่าท่านเป็นสหธรรมิกกับ หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย จ.สิงห์บุรี พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองสิงห์บุรี ได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้ซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ของพระเกจิทั้ง 2 รูปนั้น ถึงขนาดสร้างความสับสนเกี่ยวกับวัตถุมงคล เช่น เมื่อครั้งหลวงพ่อรุ่งนำพระปิดตามาแจกจ่ายแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา กว่าจะสืบทราบว่าแท้จริงแล้วเป็นพระปิดตาของหลวงพ่อเชย ที่มอบให้หลวงพ่อรุ่งส่วนหนึ่ง ก็มะงุมมะงาหรากันน่าดูทีเดียว

ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 จนสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะที่ “พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์” ในปี พ.ศ.2499 หลวงพ่อรุ่งมรณภาพในวันที่ 27 ก.ย.2500 สิริอายุ 85 ปี พรรษา 64 นับเป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมเป็นที่เลื่องลือในยุคนั้น ได้รับการนิมนต์เข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกในพิธีพุทธาภิเษกสำคัญๆ เสมอ เช่น พิธีวัดราชบพิตรปี 2481, พิธีพระพุทธชินราชอินโดจีน ณ วัดสุทัศน์ และพิธี 25 พุทธศตวรรษ เป็นต้น ท่านสร้างวัตถุมงคลมากมายหลายประเภทซึ่งล้วนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งสิ้น

สำหรับ เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง ที่เรียกได้ว่ามีค่านิยมเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาครนั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ.2484 ในโอกาสฉลองสมณศักดิ์เป็นที่พระครู เนื้อที่พบเห็นมากมี 2 เนื้อ คือ เนื้อเงินและทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หูในตัว ยกขอบ 2 ชั้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อรุ่งครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ มีอักษรไทยด้านข้างและด้านบนว่า “พระ ครู รุ่ง” ด้านล่างประดับโบริ้วจารึกอักษรไทยว่า “วัดท่ากระบือ” ปลายโบทั้ง 2 ข้างมีขีด 3 ขีด ล่างสุดมีลายกนก ด้านหลังตรงกลางเป็นยันต์อุณาโลม ด้านบนเป็นยันต์องค์พระ ด้านข้างซ้ายและขวามีอักขระขอมอ่านว่า “พุท ธะ สัง มิ” ด้านล่างระบุปีที่สร้าง “พ.ศ.๒๔๘๔” และล่างสุดประดับลายกนก

ขอขอบคุณข้อมูล จากเพจ วัดท่าไม้ จังหวัดสมุทรสาคร  ข่าวโดยไผ่บ่อไร่

 

 

Visitors: 344,086