ส อ ท ชี้มรสุมแบงก์ล้ม เป็นจุดเริ่มวิกฤติการเงินโลก

ส.อ.ท.ประเมินสถานการณ์แบงก์ล้มในสหรัฐ ลามถึงธนาคารเครดิตสวิสมีปัญหา จะเป็นจุดเริ่มวิกฤติการเงินโลก ภาคอุตสาหกรรมไทยเร่งจับตาอย่างใกล้ชิด

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ท่ามกลางความผันผวนของตลาดทุนในปัจจุบัน ภาคการเงินและธนาคารของไทยยังมีความแข็งแกร่งซึ่งทำให้ไม่ได้ผลกระทบโดยตรงจากการเกิดแบงก์รันในสหรัฐ แต่จะมีผลกระทบทางจิตวิทยา ซึ่งทำให้ตลาดทุนผันผวนมาก โดยตอนนี้มีรายชื่อธนาคารขนาดเล็กในสหรัฐที่เข้าลิสต์เสี่ยงแล้วราว 10 แห่ง

ขณะเดียวกันในยุโรป ธนาคารเครดิต สวิส กำลังประสบปัญหาขาดทุนและสูญเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทำให้มีความเสี่ยงว่าจะส่งผลเป็นโดมิโนไปยังธนาคารอื่นในยุโรป รวมถึงในเอเชียที่อาจมีธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งต้องติดตามว่าจะลุกลามหรือไม่ และถ้าไม่ลุกลามจะเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น 1-2 เดือน โดยจะเกิดความผันผวนของตลาดทุนและอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงราคาทองคำ
 

ขณะที่ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทยที่ต้องจับตา คือ การส่งออกเพราะถ้าเกิดผลลุกลามของตลาดทุนไปเรียลเซคเตอร์จะทำให้กำลังซื้อลดลงและการส่งออกจะหดตัว

วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นยังเพิ่งเป็นการเริ่มต้นเท่านั้น โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากการเดินหน้ามาตรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงของสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 4.5-4.75% ซึ่งต้องจับตาว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อหรือไม่ หลังจากที่เกิดผลกระทบต่อธนาคารหลายแห่ง โดยกลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือธนาคารที่มีธุรกรรมเกี่ยวเนื่องกันและกลุ่มธุรกิจที่มีสถานะทางการเงินที่เปราะบางอยู่แล้ว”
 

ทั้งนี้ ผลกระทบจากการล้มละลายของ SVB ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด สำหรับสถานการณ์ของสถาบันการเงินไทยมีความเชื่อมั่นว่ายังคงแข็งแกร่งสะท้อนจากผลกำไรที่ดีในปีที่ผ่านมารวมทั้งบทเรียนจากวิกฤติต้มยำกุ้งทำให้มีการวางแผนอย่างรัดกุมและระมัดระวังในการบริหารงาน

“ภาคอุตสาหกรรมยังต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิดล่าสุดกรณีที่ธนาคารในสหรัฐปิดตัวลง 3 แห่ง ภายใน 1สัปดาห์ ซึ่งสร้างความตกใจต่อตลาดทุนและตลาดเงินอย่างมาก โดยสาเหตุหลักเกิดจากการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟดที่ยังมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นมุ่งไปที่ 5% ซึ่งจะสร้างความเปราะบางให้ธนาคารทั่วโลก โดยเฉพาะธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก

รวมถึงภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินโดยตั้งแต่เดือน ต.ค.2565 ถึงเดือน ม.ค.2566 ที่การส่งออกติดลบต่อเนื่อง ทำให้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ลดคาดการณ์การส่งออกปี 2566 จากเดิมขยายตัว 1-2% เป็น 0 ถึง -1% จากปีก่อน โดยคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยครึ่งปีแรกจึงมีแนวโน้มผันผวนในลักษณะขาลงไปตามสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
 

Visitors: 343,717