ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย
ตามประวัติไม่ได้ระบุชัดเจนว่าสร้างมาแต่เมื่อใด ใครเป็นคนสร้าง แต่จากจารึก ที่แตกหักบริเวณริมฐานปรางค์ประธานมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่1 และศักราชที่ พ.ศ1545-พ.ศ1574และ1589ซึ่งเป็นช่วงในราชกาล ของพระองค์คืออยู่ระหว่างพ.ศ1545-1593เมื่อรวมกับจารึกที่กรอบประตูระเบียงด้านทีศใต้ที่กรอบประตูด้านทิศตะวะนออก กลางคูหากล่าวถึงพระนามของพระเจ้าธรณีนทราวรมันที่1อยู่ในช่วงระหว่างพ.ศ1651-1655โปรดเกล้าให้พระกมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีแห่งเมืองโฉวกุล(เป็นชุมชนหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมาที่ยังไม่มีหลักฐานว่าอยู่ที่ใด) สถาปนา"กมรเตงคตเสนาบดีไตรโลกวิชัย"เป็นรูปเคารพคล้ายกับพระประธานขึ้นไว้เป็นเสนาบดีของ"กมรเตงคตวิมาย"(หมายถึงองค์ปราสาทเห็น พิมาย จากคำกล่าวของจารึกนี้ถอดความได้ว่า ปราสาทหินพิมายมีมาก่อนพ.ศ.1651และพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่1ได้แต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ชื่อ"พระกมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดี"เป็นผู้ดูแลเมือง โฉกวกุล ผู้สร้างรูเคารพที่เรียกว้า"กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกวิชัย"ประดิษฐานไว้ที่"กมรเตงขคตวิมาย"หรือปราส่ทหินพิมายเพื่ออุทิศส่วนกุศลนี้ให้กับพระองค์คือพระเจ้าชัยวรมันที่1
ปราสาทหิน พิมาย เป็นปราสาทหินสร้างตามคติความเชื่อของศาสนาพรามห์ระหว่างสวรรค์ โลกมนุษย์ และโลกบาดาล โดยโครงสร้างปรางค์ประธานเปรียบเสมือนยอดเขาพระสุเมรูเป็นที่สถิตย์ของพระเจ้า บริเวณโดยรอบเป็นผืนแผ่นดินสร้างเป็นทางเดินยกพื้นสูงขึ้นบันไดสู่ชานที่สูงขึ้นไปเป็นลานกว้างจนถึงกำแพงแก้วเข้าสู่ปรางค์ประธาน ขณะที่ทางเดินสู่ขานด้านล่างก่อนขึ้นบันไดนาคจะมีบาราย(สระน้ำ)4ด้าน เปรียบเสมือนโลกบาดาลที่เรียกกันว่า"มหานทีสี่ทันดร" ปราสาทหินพิมาย สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมขอมรูปแบบบาปวน ผสมศิลปะนครวัดต่อมามีการสร้างเพิ่มเดิมและใช้เป็นศาสนสถานของพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ศิลปะขอมบายนในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่7
ชื่อ"พิมาย" น่าจะมาจากคำว่า"วิมายหรือ "วิมายปุระฤ"ปรากฎในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคตด้านหน้าของปราสาท กล่าวถึงปราสาทแห่งนี้เริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่1 ราวพุทธศตวรรตที่16โดยเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหม์ ต่อมามีการสร้างเพิ่มเติมในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่7และด้ดแปลงเป็นศาสนสถานของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ที่ตั้งของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตรยาว 1,030เมตร องค์ปราสาทหันหน้าไปทางทิศใต้ เพื่อรับกับอาณาจักรขอมที่อยู่ด้านทิศเหนือ ต่างจากปราสาทองค์อื่นๆที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
สถานที่ที่น่าสนใจของปราสาทหินพิมาย
พลับพลาอยู่นอกกำแพงชั้นนอกด้านซ้ายมือตรงทางขึ้น อาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่เดิมเรียกกันว่า"คลังเงิน" สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสถานที่เปลี่ยนเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ก่อนทรงเข้าพิธีทางศาสนา
สะพานนาคราชเป็นทางเดินก่อนเข้าสู่โคปุระ(ประดู)สร้างด้วยหินทรายมีผังเป็นรูปกากบาทกว้าง4เมตร ยาว31เมต่รยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นตัวนาค ปลายราวสะพานเป็นเป็นนาคราชชูคอพังพาน7เศียร สะพานนี้เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่ศาสนาสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อมต่อระหว่างสวรรค์ โลกมนุษย์ และบาดาลเป็นความเชื่อของศาสนาพราหม์
ซุ้มประตู(โคปุระ)ตั้งอยู่ระหว้างแนวกำแพงแก้วมีอยูทั้งหมด4ด้านผังโดยรอบเป็นรูปกากบาท พ้นจากกำแพงเขเามาด้านในเชื่อว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่ประทับของเทพเจ้า
ระเบียงคต ลักษณะเป็นกำแพงแก้วทั้ง4ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวประตูเมืองและจากจารึกสำคัญที่ซุ้มประตูพบจารึกภาษาเขมรอักษรขอบโบราณระบุศักราชตรงกับพ.ศ1651-1655กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ การสร้างเมืองตลอดจนรายนามของขุนนางชั้นสูงและพระนามของพระมหากษัตริย์คือ พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่1
จุดหนเาสนใจอีกจุดหนึ่งของปราสาทหินพิมายคือ ปรางค์ประธานขององค์ปราสาท ปรางค์ประธานเป็นส่วนสำคัญที่สุดสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรตที่16-17สร้างด้วยศิลาหรายสีขาวหันน้าไปทางทิศใต้ รับกับเมืองพระนครอันเป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรขอมโบราณ ปรางค์ประธานประกอบด้วย2ส่วนสำคัญกล่าวคือ มณฑปและเรือนธาตุ มีลวดลายจำหลักประดับอยู่ที่หน้าบัน ทับหลังโดยลายจำหลักเล่าเรื่องรามเกียรติ์และความเชื่อในเทพเจ้าของศาสนาพราหม์โดยเฉพาะด้านทิศใต้ ภาพจำหลักเป็นศิวะนาคราช และลายจำหลักเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในเรือนธาตุเป็นห้องโถงสี่เหลี่ยมเรียกว่า"ห้องครรภคฤหะ" ประดิษฐานรูปเคารพสำคํญเข้าใจว่าเป็นรูปเคารพสัญลักษณืของศาสนาหราหม์เข้าใจว่าน่าจะเป็น"ศิวะลึงค์"เนื่แงจากพื้นห้องด้านมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์ที่นำมาร่วมพิธีบูชาศิวะลึงค์ ร่องน้ำนี้เรียกกันต่อมาว้" ร่องน้ำมนต์"หรือ"น้ำโสมสูตร" ต่อมาห้องนี้ได้ดัดแปลงเป็นห้องประดิษฐานรูปเคารพในพุทธศาสนาละทธิมหายานเข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ซึ่งองค์จริงอยู่นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯองค์ทีประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันเป๊นองค์จำลอง เที่ยวชมและกราบบูชาพระพุทธรูปปางนาคปรกในห้องครรภคฤหะเหมือนราวกับว่าเราเดินอยู่ยุคขอมเรืองอำนาจ
ปรางค์หินแดงเป็นอาคารที่สร้างขึ้นภายหลังใหพุทธศตวรรตที่17อยู่ด้านขวาของปรางค์ประธานมีทับหลังหินทรายมีลายจำหลักเล่าเรื่องราวมหาภารตะ ตอนอรชุนล่าหมูป่าส่วนกรอบประตูมีล่ยจำหลักลวดลายเป็นศิลปะขอบประดับอยู่
หอหราหมณ์ เป็นอาคารก่อด้วยหินทราบและศิลาแลง อยู่บนฐานเดียวกันกับปรางค์หินแดง ต่อมาปีพ.ศ 2493 มีการค้นพบศิวะลึงค์สลักด้วยหินทรายจำนวน7ขิ้นอยู่ภายในหอพราหมณ์แห่งนี้ สันนิษฐานว่าหอพราหมณ์น่าจะเป็นสถานที่ปรักอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมเป็นที่ตั้งของบรรณาลัยเสียมากกว่า
ปรางค์พรหมทัต สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ด้านหน้าของปรางค์ประธานค่อนไปทางซ้าย ภายใหปรางค์เป็นห้องประดิษฐานรูปเคารพสันนิษฐานว่าเป็นพระโพธิสัตว์อวโรกิเตศวรตามคติความเชื่อของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่7 ซึ่งพระองค์เลื่อมใสในพุทธศาสนา ลัทธิมหายานและพระองค์มีความปรารถนาที่จะเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร แต่ชาวบ้านเรียกรูปเคารพองค์นี้ว่า ท้าวพรหมทัต รูปเคารพนี้แกะสลักด้วยหินทราย แขนหักไปทั้งสองข้าง ส่วนอีกรูปเคารพหนึ่ง เป็นรูปแกะสลักเป็นสุภาพสตรี สันนิษฐานเป็น2แนวทาง กล่าวคือตามความเชื่อของสัทธิมหายานรูปเคารพที่เป็นสุภาพสตรีนี้น่าจะเป็น นางปรัชญาปาริมิตา นางคู่บารมีพระอวโรกิเตศวร ส่วนอีกแนวทางหนึ่งเชื่อว่าเป็นรูป พระนางชัยเทวีมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่7 ชาวบ้านเรียกตามตำนานพื้นบ้านว่านางอรพิน ปัจจุบันรูปเคารพทั้งสองเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พืมาย
สุดท้าย สถานที่สำค้ญภายในกำแพงแก้วกับซุ้มประตูระเบียงคต ด้านทิศตะสันตกเป็นอาคาร2หลังขนาดเท่ากันผังอาคารเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นยกสูง ก่อด้วยหินทรายตลอดแนว มีร่องรอยหลุมเส่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเข้าใจว่าเป็นหลุมดสาเพื่อก่อไว้มุงหลังคา อาคารหลังนี้สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่เก็บพระคัมภีร์ของศาสนา
เราชมปราสาทหินพิมายอยูนานพอสมควร ได้องค์ความรู้ที่สำคัญจากวิทยากรของอุทยานประวัติศาสตร์พิมายและถ้าจะให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ก็ต้องเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายอีกด้วยจะได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ ของปราสาทหินพิมาย ท่านจะเข้าใจเรื่องของปราสาทหินแห่งนี้อย่างดี ครับ
เรื่องและภาพ โดย ทวีศักด์ เกษปทุม